26 พฤษภาคม 2566

ภารกิจหลากมิติ ของ อธิบดี “แรมรุ้ง วรวัธ” กรมกิจการผู้สูงอายุ


ปี 2565 ประเทศไทย มีประชากรกว่า 66 ล้านคน มีผู้สูงอายุประมาณ 12.5 ล้านคน  คิดเป็นร้อยละ 19.03 ผู้สูงอายุเหล่านี้ กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้ดำเนินการดูแลคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุเป็นพฤฒพลังของประเทศ

นางสาว แรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ
เผยว่า ปี 2566 เป็นการเข้าโค้งที่สามของแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ซึ่งตรงนี้มีมิติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอยู่ 4 ด้าน ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็ได้กำหนดนโยบายขึ้นมา เราใช้คำว่า  Strong คือความแข็งแรง ซึ่งการที่จะดูแลผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็งได้ องค์กรของเราก็ต้องแข็งแรงและต้องเตรียมความพร้อมให้ดี

S - Standard คือ มาตรฐาน ในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้สงอายุ ต้องมีคนที่มีมาตรฐาน มีหลักสูตรที่มีมาตรฐาน มีหน่วยงานดูแลที่มีมาตรฐานรวมถึงเรื่องการดูแลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีมิติที่สองคือเรื่องของทีมเวิร์ค เรื่องขององค์กร เจ้าหน้าที่ของกรมฯ ทุกคนต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 18 ชั่วโมง ซึ่งวันนี้ทุกคนผ่านการพัฒนาศักยภาพร้อยเปอร์เซ็นต์  ผ่านการอบรมเป็นที่เรียบร้อยแล้วเรื่อง สิทธิมนุษยชน ที่เราต้องทำให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสิทธิในสวัสดิการต่างๆ ทุกเรื่อง อีกอันคือเรื่องของโอกาสในการที่จะให้ผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อสังคม การมีโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อยกระดับให้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมด้านสังคมอีกมิติ คือการทำงานเชิงเครือข่าย ถ้าพูดถึงแผนพัฒนาปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ การทำงานด้านผู้สูงอายุต้องมีการทำงานร่วมกันในหลายภาคีเครือข่าย รวมถึงยกระดับแผนบูรณาการสังคมรองรับผู้สูงอายุ สุดท้ายก็คือ ทั้งผู้สูงอายุ คนก่อนจะเป็นผู้สูงอายุ รวมถึงหน่วยงานที่ดูแลผู้สูงอายุ ต้องแข็งแรงไปด้วยกัน 


ร่วมภาคีเครือข่ายบูรณาการ
ในส่วนของระเบียบวาระแห่งชาติ ครม.มีมติเห็นชอบตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งตรงนั้นได้พูดถึงมิติต่างๆ ประกอบด้วย มิติเรื่องของสุขภาพ ซึ่งสุขภาพต้องสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ดำเนินการร่วมกันกระทรวงสาธารณสุข ด้านเศรษฐกิจดำเนินงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน ด้านสังคมร่วมบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้สูงวัย โดยกระทรวง อว. พัฒนาด้านนวัตกรรม



อธิบดี ฯ กล่าวต่อว่า “.... เรื่องเศรษฐกิจ ส่งเสริมการมีงานทำ เช่นทำงานกับกระทรวงแรงงานเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำ ขณะนี้มีการเปิดระเบียบให้ผู้สูงอายุได้เข้าไปทำงานในสถานประกอบการ โดยมีอัตราว่าจ้างที่บังคับว่าถ้ามีผู้สูงอายุต้องมีรายได้ประมาณเท่าไหร่ พูดถึงเรื่องวันหยุดของผู้สูงอายุด้วยและการสนับสนุนผ่านเงินกองทุนผู้สูงอายุ สามารถกู้เงินได้ 30,000 บาท และสำหรับกลุ่มแล้วจะสามารถกู้ได้ ไม่เกิน 100,000 บาทการทำงานด้านสังคม เราสนับสนุนให้มีพื้นที่ในชุมชนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เช่นโรงเรียนผู้สูงอายุ มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้ได้ออกจากบ้านได้มาเจอเพื่อนและทำกิจกรรมร่วมกัน


“... การปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  จากสถิติที่ผ่านมา มีการเก็บข้อมูลพบว่าผู้สูงอายุในหนึ่งคนจะมีโอกาสลื่นล้ม
6-7 ครั้งต่อหนึ่งปี ในบ้านพักของตัวเอง  เราจะมีงบในการเปลี่ยนปรับสถานที่ เช่น โถส้วม ทางลาด เปลี่ยนพื้นห้องน้ำ รวมถึงไปสนับสนุนสถานที่ท่องเที่ยว หรือในวัด หรือมัสยิด สถานที่ต่างๆ เพื่อให้พื้นที่นั้นเหมาะสมกับผู้สูงอายุและด้านนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ จริง ๆ แล้วถ้าท่านมีผู้ช่วยที่ดีที่ทันสมัย ท่านจะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นเราจึงร่วมกับกระทรวง อว. ตรงนี้พัฒนาอุปกรณ์หลายอย่าง”  

อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เน้นย้ำด้านสุขภาพ 
เรื่องสุขภาพ ต้องสมบูรณ์พร้อมทั้งเรื่องของร่างกายและจิตใจ คัดกรองเรื่องสุขภาพไม่ให้สุขภาพถอยลงไปก่อนวัยอันสมควร ซึ่งทำงานร่วมกันกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมองว่าเราเป็นผู้สูงอายุตามพรบ. 60 ปี แล้วเรายังไม่มีความพร้อมเรื่องเศรษฐกิจเลยจะไม่ทัน ต้องเตรียมพร้อมก่อนหน้า ดังนั้นในการบูรณาการเรื่องสังคมผู้สูงวัย จะมีการทำงานกับกลุ่มเยาวชน ย้อนเล็กไปกว่านั้นคือ 15 ปีในการทำงานร่วมกับกอช. เพื่อให้ครอบครัวได้ออมให้กับเด็กและออมไปจนถึงอายุ 59 ปี เพื่อให้คนเหล่านั้นได้มีหลักประกันด้านหลักทรัพย์และอีกมิติหนึ่งคือการทำงานเครือข่าย เรื่องปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ จะทำงานร่วมกันหลายภาคีเครือข่าย รวมถึงการยกระดับแผนบูรณาการร่วมกัน แผนมีตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การดูแลผู้สูงอายุที่มีพลังและผู้สูงอายุที่เปราะบาง สุดท้าย ทั้งผู้สูงอายุและก่อนจะเป็นผู้สูงอายุ รวมถึงหน่วยงานที่ดูแลผู้สูงอายุเราต้องแข็งแรงไปด้วยกัน



นวัตกรรมไอทีเพื่อผู้สูงอายุ
กรมกิจการผ้สูงอายุที่ผ่านมาได้มีการทำงานร่วมกันกับกระทรวงการอุดมศึกษา ฯ โดยได้มีการพัฒนา อุปกรณ์หลายอย่างเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุได้ดำรงชีวิตได้มีความสุขมากขึ้น เช่นอุปกรณ์ในการช่วยเดิน มีวีลแชร์ที่เข็นไปแล้วสามารถลุกขึ้นยืนได้ หรือผู้สูงอายุที่ต้องนอนติดเตียง อุปกรณ์อุ้มผู้สูงอายุอาบน้ำได้โดยไม่ทำให้ท่านบาดเจ็บทรมาน มีหลายเรื่องที่ทำงานในแผนปฏิบัติการที่ทำงานร่วมกัน

อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวต่อว่า นวัตกรรมหลักๆ ที่ทำงานด้วยกันคือกระทรวง อว. เข้ามาในบ้าน ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ไปดูว่าประเด็นที่ท้าทายในการทำงานมีอะไรบ้าง เช่น เรามีผู้สูงอายุหลายคน การพาผู้สูงอายุไปอาบน้ำกับสัดส่วนพี่เลี้ยงที่มีอาจจะไม่พอ เราก็พัฒนาเครื่องที่จะอุ้มผู้สงอายุสามารถไปอาบน้ำได้สะดวก หรือผู้สูงอายุที่ต้องทานยาก็จะมีนาฬิกาที่เตือนว่า ขณะนี้เป็นเวลาเท่าไหร่ถึงเวลาแล้ว แบบนี้เป็นต้นและเรื่องของไม้เท้าที่เป็นตัวเลเซอร์ สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์ ท่านสามารถที่จะทรงตัวได้ เพราะตัวไม้เท้าจะมีตัวเลเซอร์ที่เท้า ผู้สูงอายุก็จะเดินทางเลเซอร์ของไม้เท้านั้น ท่านก็สามารถเดินไปไหนมาไหนได้สะดวกและอุปกรณ์ช่วยทรงตัว ควบคุมการทรงตัวและเดินไปไหนมาไหนได้ปลอดภัยเพราะเครื่องมือนี้จะช่วยโอบอุ้มทำให้ทรงตัวได้ดีเรื่องของอาหาร ตัวช่วยการนอน เพราะผู้สูงอายุเวลาติดเตียงแล้วเวลาพลิกตัวจะลำบากก็จะมีที่นอนที่สามารถพลิกตัวได้โดยไม่เป็นแผลกดทับ รวมถึงตัวหมอนที่ทำให้วางมือลงไปบนหมอนได้โดยมือไม่ตกไปกระทบกับเตียงหรือสิ่งที่ทำให้บาดเจ็บได้ 



โครงการเร่งด่วนสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ ในปี
2566ทางด้านภารกิจเร่งด่วนสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวต่อว่า สังคมผู้สูงอายุใกล้ตัวมากแล้ว เรียกว่าเป็น Completely Aged Society ที่สมบูรณ์ ดังนั้นสิ่งที่กรมต้องรีบทำคือต้องพัฒนาคนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุให้ได้เท่ากับจำนวนผู้สูงอายุมีอยู่ ตอนนี้ 12.5 ล้านคน ตอนนี้เรามีอาสาสมัครอยู่ 62,000 กว่าคน ซึ่งถ้าคิดว่าอาสาสมัคร 1 คนจะไปดูแลผู้สูงอายุ 15 คน เราก็ต้องรีบสร้างผู้ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น

ดังนั้นในแต่ละปีเราจะมีเป้าหมายให้ทุกพื้นที่ได้พัฒนาองค์ความรู้ให้แก่อาสาสมัคร ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เดิมให้มีความรู้เพิ่มขึ้น หรือเป็นอาสาสมัครใหม่ หนึ่งในมิติที่เราทำงานอีกหนึ่งคือ การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน เนื่องจากในบ้านเรามีศูนย์บริการสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุแค่ 13 บ้านเท่านั้น ในแต่ละปีเรารองรับผู้สูงอายุไม่มากดังนั้นต้องทำงานในเชิงชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีบ้านกลาง มีครอบครัวที่สามารถรองรับผู้สูงอายุได้

และสิ่งที่ตัวเองตั้งใจจะทำให้ได้คือเรื่องของการปรับระเบียบกองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งเดิมจะไปให้กับผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพแต่เมื่อเราไปประเมินแล้ว ผู้สูงอายุหลายท่านที่กู้เงินกองทุนไป บางส่วนไม่สามารถทำงานได้อีก จึงไปปรับให้ลูกหลานที่ต้องทำหน้าที่ดูแลท่านสามารถกู้เงินตรงนี้ได้ และต้องมีแผนในการดูแลผู้สูงอายุให้เราด้วย ซึ่งน่าจะใช้เวลาสักระยะหนึ่ง จะทำให้อย่างเร่งด่วน


เรื่องมาตรฐานในการดูแลผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ 13 แห่ง กับเราต้องไปทำงานในชุมชนที่เขามีบ้านผู้สูงอายุ ตรงนี้เป็นตัวช่วยไม่ให้ผู้สูงอายุเข้ามาล้นในหน่วยงาน เราต้องเข้าไปดูเรื่องขององค์ความรู้ เรื่องของการพัฒนาบุคลากรและการเพิ่มโรงเรียนผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทั้ง 7,000 กว่าตำบลทั่วประเทศไทย ตอนนี้เรามี 2,800 กว่าแห่ง แต่ยังไม่ครอบคลุม เมื่อไหร่ที่เรามีผู้สูงอายุครบทุกตำบล จะทำให้ผู้สูงอายุมีพลังมีกิจกรรมมากขึ้น ลดอัตราการเจ็บป่วย รวมถึงลดภาวะการติดบ้าน ติดเตียง ยืดเวลาให้ผู้สูงอายุได้นานมากที่สุดกับอีกหนึ่งมิติคือ เรื่องของการทำให้คนก่อนหกสิบปีได้มีเงิน ต้องรวยก่อนแก่ เตรียมมิติเรื่องการเก็บเงินการวางแผนการใช้จ่ายเงิน การขจัดหนี้สินต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวกับเรื่องมิติเศรษฐกิจด้วย 



ส่วนด้านอุปสรรคและปัญหาอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ
กล่าวว่า ...จริงๆ ไม่อยากเรียกว่าเป็นปัญหา แต่เราถือเป็นข้อท้าทายมากกว่า สิ่งที่เราต้องทำคือ เรื่องแรกมิติของการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งระยะที่ผ่านมาแม้จะเตรียมความพร้อมที่คนในวัยเยาวชน แต่ในปัจจุบันยังมีผู้สูงอายุหลายคนมากที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมมาก่อน ก็จะมีปัญหาเรื่องรายได้ เรื่องของสุขภาพ ดังนั้น กรมฯ เองต้องทำงานเพิ่มในส่วนของ การทำงานกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่นกระทรวงศึกษาธิการต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่วัยเด็ก หน่วยงานที่ต้องดูแลเรื่องเศรษฐกิจต่างๆต้องบอกว่า สิ่งหนึ่งที่จะต้องรีบทำคือทำให้วัยรุ่น ตัวเด็ก หรือวัยทำงานได้รู้ว่าเขาจะต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้สูงอายุอย่างไร เพราะเดี๋ยวถ้ามีผู้สูงอายุมากขึ้น ความเอื้ออาทร เรื่องของการช่วยกันดูแลสังเกต ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นอาสาสมัครเป็นเรื่องสำคัญ

อีกหนึ่งคือเรื่อง ของการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเป็นผู้สูงอายุในมิติต่างๆ อย่างที่กล่าวไป ด้านสุขภาพทั้งกายและจิต เข้าสู่ระบบดิจิทัลเพื่อสะสมเวลาได้โดยมีระบบในการควบคุม อยากขยายให้มีจิตอาสาเพิ่มขึ้น เราจะเพิ่มจิตอาสาฯให้เข้าสู่ระบบธนาคารเวลาด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่การสะสมยิ่งนานวันขึ้นก็จะทำให้ผู้ที่เป็นจิตอาสาได้เวลาเพิ่มขึ้น ตอนนี้คิดกันว่า เช่นมีการสะสมสิบปีจะได้กี่ชั่วโมง หรือเท่าไหร่ เป็นมิติที่คิดกันไว้ อยากเชิญชวนพวกเราที่ยังแข็งแรงอยู่มาสมัครเป็นสมาชิกธนาคารเวลา และอยากเชิญชวนผู้สูงอายุที่ต้องการจิตอาสาในการดูแลให้สมัครเข้ามาที่กรมกิจการผู้สูงอายุได้ 




แอพพลิเคชั่น กรมฯ ได้เปิดแอพพลิเคชั่น gold เป็นแอพฯที่ไม่สูงอายุก็เข้าไปได้จะมีสิทธิสวัสดิการของผู้สูงอายุเต็มไปหมด และสำหรับผู้สูงอายุเอง ถ้าท่านมีผลิตภัณฑ์ที่ท่านผลิตอยู่และอยากจะประชาสัมพันธ์ สามารถถ่ายรูปและเข้าไปในแอพฯ แล้วนำสินค้าไปวางจำหน่ายได้ จะเป็นช็อปให้เข้าไปดูได้ และนอกจกนั้นก็จับมือกันกับหน่วยงานที่ทำเรื่องการค้าขายออนไลน์ให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ ที่สำคัญมากคืออยากดึงเอาภูมิปัญญาผู้สูงอายุที่ฝากไว้กับแผ่นดินนานแล้ว ได้ต่อยอดออกไป รวมถึงการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น 

ท้ายสุด สำคัญคือคนในครอบครัว
“อยากทำให้สังคม ครอบครัวไทยที่เป็นครอบครัวที่เราได้ละเลยการดูแลผู้สูงอายุมาช่วงหนึ่ง ได้ย้อนกลับมาดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวของตัวเองเพื่อให้ท่านได้มีความสุขใจและความมั่นใจในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ อยากให้ทุกคนได้มองเห็นผู้สูงอายุ กรณีที่มีพลังอยู่ อยากให้นำท่านเข้ามาแลกเปลี่ยน เข้ามานำเอาคลังปัญญาที่ท่านมีอยู่มาใช้ในการพัฒนาสังคม เมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่ามีผู้สูงอายุในภาวะเปราะบางก็อยากให้แจ้ง ถ้าเราสามารถช่วยเหลือท่านได้ แจ้งมาที่ศูนย์ฯพัฒนาสังคม 1300 ตลอด 24 ชม.