และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.) จัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นบูรณาการและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกันดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนพื้นที่สูง ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่ยังเกิดจุดความร้อนหรือฮอตสปอตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่า PM 2.5 ในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่หลายจุดเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยไฟป่าและการเผายังคงเกิดขึ้นติดต่อกันนานนับสัปดาห์ ทำให้เกิดการสะสมฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในอากาศ
เมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นำโดย นายวิชัย ทองแตง นักธุรกิจ และนักลงทุนระดับประเทศ นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง พร้อมด้วยนายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ให้เกียรติร่วมเปิดการประชุมเพื่อร่วมวางแผนบูรณาการ ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนพื้นที่สูง ส่งเสริมด้านอาชีพ ปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง เพิ่มช่องทางการตลาดผลผลิต ปรับเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้เกิดรายได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนบนพื้นที่สูงและประเทศชาติต่อไปในอนาคต นำไปสู่การลดอัตราการเกิดจุดร้อน (Hotspot) บนพื้นที่สูงได้ โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 นายอำเภอแม่แจ่ม และอบต.แม่นาจร ร่วมเป็นสักขีพยานและประชุมบูรณาการแผนร่วมกัน ณ เรือนกล้วยไม้ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า การลดปัญหาการเผาในภาคเกษตร สวพส. ได้นำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ในชุมชนบนพื้นที่สูง ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่เกษตรมูลค่าสูง ปรับระบบการปลูกพืชอย่างประณีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ 50 ไร่ สร้างรายได้ประมาณ 200,000 บาท ในขณะที่ปลูกพืชผักในโรงเรือนตามองค์ความรู้จากโครงการหลวงบนพื้นที่ 0.5 ไร่ เกษตรกรสร้างรายได้ประมาณ 200,000 บาท เช่นเดียวกัน แต่ใช้พื้นที่น้อยกว่า วิธีนี้จะช่วยลดอัตราการเกิดจุด Hotspot ในพื้นที่ โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าช่วงปี 2565 มีจุดความร้อนน้อยกว่าปี 2564 ถึง 1,629 จุด และในช่วง 1 มกราคม-31 มีนาคม 2566 เกิดจุดความร้อนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 4,118 จุด คิดเป็นร้อยละ 6 ของการเกิดจุดความร้อนของพื้นที่ 12 จังหวัดที่มีโครงการตั้งอยู่ ที่เกิดจุดความร้อนทั้งหมด 67,861 จุด
นอกจากนี้การปรับระบบการเกษตร ทำให้ชุมชนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางแดงในไม่มีปัญหาการเผา 100% โดยได้รางวัล “ต้นแบบหมู่บ้านปลอดการเผา” จากกรมควบคุมมลพิษ เมื่อปี 2555 และยังได้รับรางวัลเลิศรัฐ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทเลื่องลือขยายผล (Participation Expanded) ระดับดีเด่น ประจำปี 2565 ชื่อผลงาน เลื่องลือขยายงาน บ้านปางแดงใน ต้นแบบต่อยอด Towards SDGs ปัจจุบันชุมชนบ้านปางแดงในเป็นแหล่งเรียนรู้การปรับระบบการปลูกพืชที่ยั่งยืน โดยชุมชนมีเกษตรกรผู้นำรวม 15 ราย ที่ช่วยทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงสำคัญ ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนากับ สวพส. รวมถึงการเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกพืชชนิดต่าง ๆ สู่เกษตรกรรายอื่น ๆ มีแปลงเรียนรู้การปรับระบบการปลูกพืชของเกษตรกร
เมื่อมีการปรับเปลี่ยนระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประกอบกับมีช่องทางการตลาดเพื่อรองรับผลผลิต ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีวิตทั้งครอบครัว เกษตรกรกลับมาดูแล บำรุงรักษาและพัฒนาป่า ขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยการใช้แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลงเป็นเครื่องมือในการกำหนดขอบเขตที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และพื้นที่ป่า ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหมอกควันในระยะยาว
และเพื่อเป็นการริเริ่มการขับเคลื่อน จึงได้มีการลงนามร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัท ชีวมวลอัดเม็ด จอมทอง จำกัด บริษัท กรีน สแตนดาร์ด จำกัด และบริษัท คิว บ็อคซ์ พอยท์ จำกัด
ในการนี้ จึงเป็นความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนเพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนพื้นที่สูง โดยตั้งเป้าลดจุด Hotspot ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนสวพส. เดินหน้าจับมือภาคเอกชน เตรียมแผนบูรณาการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.) จัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นบูรณาการและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมกันดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนพื้นที่สูง ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่ยังเกิดจุดความร้อนหรือฮอตสปอตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่า PM 2.5 ในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่หลายจุดเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยไฟป่าและการเผายังคงเกิดขึ้นติดต่อกันนานนับสัปดาห์ ทำให้เกิดการสะสมฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในอากาศ
เมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นำโดย นายวิชัย ทองแตง นักธุรกิจ และนักลงทุนระดับประเทศ นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง พร้อมด้วยนายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ให้เกียรติร่วมเปิดการประชุมเพื่อร่วมวางแผนบูรณาการ ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนพื้นที่สูง ส่งเสริมด้านอาชีพ ปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง เพิ่มช่องทางการตลาดผลผลิต ปรับเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้เกิดรายได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนบนพื้นที่สูงและประเทศชาติต่อไปในอนาคต นำไปสู่การลดอัตราการเกิดจุดร้อน (Hotspot) บนพื้นที่สูงได้ โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 นายอำเภอแม่แจ่ม และอบต.แม่นาจร ร่วมเป็นสักขีพยานและประชุมบูรณาการแผนร่วมกัน ณ เรือนกล้วยไม้ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า การลดปัญหาการเผาในภาคเกษตร สวพส. ได้นำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ในชุมชนบนพื้นที่สูง ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่เกษตรมูลค่าสูง ปรับระบบการปลูกพืชอย่างประณีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ 50 ไร่ สร้างรายได้ประมาณ 200,000 บาท ในขณะที่ปลูกพืชผักในโรงเรือนตามองค์ความรู้จากโครงการหลวงบนพื้นที่ 0.5 ไร่ เกษตรกรสร้างรายได้ประมาณ 200,000 บาท เช่นเดียวกัน แต่ใช้พื้นที่น้อยกว่า วิธีนี้จะช่วยลดอัตราการเกิดจุด Hotspot ในพื้นที่ โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าช่วงปี 2565 มีจุดความร้อนน้อยกว่าปี 2564 ถึง 1,629 จุด และในช่วง 1 มกราคม-31 มีนาคม 2566 เกิดจุดความร้อนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 4,118 จุด คิดเป็นร้อยละ 6 ของการเกิดจุดความร้อนของพื้นที่ 12 จังหวัดที่มีโครงการตั้งอยู่ ที่เกิดจุดความร้อนทั้งหมด 67,861 จุด
นอกจากนี้การปรับระบบการเกษตร ทำให้ชุมชนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางแดงในไม่มีปัญหาการเผา 100% โดยได้รางวัล “ต้นแบบหมู่บ้านปลอดการเผา” จากกรมควบคุมมลพิษ เมื่อปี 2555 และยังได้รับรางวัลเลิศรัฐ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทเลื่องลือขยายผล (Participation Expanded) ระดับดีเด่น ประจำปี 2565 ชื่อผลงาน เลื่องลือขยายงาน บ้านปางแดงใน ต้นแบบต่อยอด Towards SDGs ปัจจุบันชุมชนบ้านปางแดงในเป็นแหล่งเรียนรู้การปรับระบบการปลูกพืชที่ยั่งยืน โดยชุมชนมีเกษตรกรผู้นำรวม 15 ราย ที่ช่วยทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงสำคัญ ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนากับ สวพส. รวมถึงการเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกพืชชนิดต่าง ๆ สู่เกษตรกรรายอื่น ๆ มีแปลงเรียนรู้การปรับระบบการปลูกพืชของเกษตรกร
เมื่อมีการปรับเปลี่ยนระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประกอบกับมีช่องทางการตลาดเพื่อรองรับผลผลิต ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีวิตทั้งครอบครัว เกษตรกรกลับมาดูแล บำรุงรักษาและพัฒนาป่า ขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยการใช้แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลงเป็นเครื่องมือในการกำหนดขอบเขตที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และพื้นที่ป่า ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหมอกควันในระยะยาวและเพื่อเป็นการริเริ่มการขับเคลื่อน จึงได้มีการลงนามร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัท ชีวมวลอัดเม็ด จอมทอง จำกัด บริษัท กรีน สแตนดาร์ด จำกัด และบริษัท คิว บ็อคซ์ พอยท์ จำกัด
ในการนี้ จึงเป็นความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนเพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บนพื้นที่สูง โดยตั้งเป้าลดจุด Hotspot ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน