15 มิถุนายน 2563

รวมพลังขับเคลื่อน Circular in Action – ปฏิบัติการหมุนเวียนพลาสติกด้วยจุดดรอปพ้อยท์


วันนี้ (15 มิถุนายน 2563) ณ ลาน Royal Village ฝั่งประตู A เซ็นทรัล วิลเลจ (Central Village) โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน  หรือ  PPP Plastics ภายใต้การนำของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) จัดงานแสดงพลังความร่วมมือ Circular in Action – Drop Point of Used Plastic หรือ ปฏิบัติการหมุนเวียนพลาสติกด้วยจุดดรอปพ้อยท์ โดยมีภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมกันแสดงจุดยืนในการขับเคลื่อนการนำพลาสติกสะอาดกลับไปรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกและนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำวนกลับมาใช้งานได้อีกหลายรอบ “แบบไม่รู้จบ” 

เพื่อไม่ให้พลาสติกเหล่านี้หลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อมและไม่ไปที่หลุมฝังกลบ เป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องขยะพลาสติกในทะเล และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยการนำกลับมาหมุนเวียนเพื่อทำประโยชน์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

โดยภายในงานครั้งนี้ยังได้รับเกียรติอย่างสูงจาก ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาร่วมเปิดพิธีและกล่าวมอบนโยบาย BCG ขับเคลื่อนประเทศไทย เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน หลังโควิด-19 

โดยเริ่มงานด้วยวีดีโอสรุปผลงานโครงการ PPP Plastics ในรอบปี 2562 จนถึงปัจจุบัน และพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานโครงการ PPP Plastics ระหว่าง นายภราดร จุลชาต ประธานโครงการ PPP Plastics
ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งประธานฯ มาตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ครบตามระเบียบ
วาระประธานที่กำหนดไว้ 2 ปี โดยเมื่อครบวาระจะมีการสลับกันระหว่างผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กับผู้แทนจากองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  จึงได้มีการส่งมอบตำแหน่งประธานโครงการ PPP Plastics ให้กับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา เพื่อสานต่องานโครงการ PPP Plastics ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ตั้งไว้และได้รับเกียรติอย่างสูงจากผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานโครงการ PPP Plastics ในครั้งนี้ อีกด้วย

หลังจากนั้นจึงเป็นพิธีแสดงความร่วมมือ Circular in Action – Drop Point of Used Plastic หรือ ปฏิบัติการหมุนเวียนพลาสติกด้วยจุดดรอปพ้อยท์ โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาสังคม ร่วมกันแสดงพลังกว่า 60 หน่วยงาน

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และประธาน PPP Plastics กล่าวว่า “ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เป็นหน่วยงานหลักสำคัญในการขับเคลื่อน BCG Model ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม“และในฐานะประธาน PPP Plastics ผมก็จะเดินหน้าสานต่อและขยายผลการดำเนินงานของ PPP Plastics เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570”  ดร.วิจารย์ กล่าวเพิ่มเติม

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และประธาน PPP Plastics
โดยเริ่มงานด้วยวีดีโอสรุปผลงานโครงการ PPP Plastics ในรอบปี 2562 จนถึงปัจจุบัน และพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานโครงการ PPP Plastics ระหว่าง นายภราดร จุลชาต ประธานโครงการ PPP Plastics
ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งประธานฯ มาตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ครบตามระเบียบ
วาระประธานที่กำหนดไว้ 2 ปี โดยเมื่อครบวาระจะมีการสลับกันระหว่างผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กับผู้แทนจากองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  จึงได้มีการส่งมอบตำแหน่งประธานโครงการ PPP Plastics ให้กับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา เพื่อสานต่องานโครงการ PPP Plastics ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ตั้งไว้และได้รับเกียรติอย่างสูงจากผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานโครงการ PPP Plastics ในครั้งนี้ อีกด้วย

หลังจากนั้นจึงเป็นพิธีแสดงความร่วมมือ Circular in Action – Drop Point of Used Plastic หรือ ปฏิบัติการหมุนเวียนพลาสติกด้วยจุดดรอปพ้อยท์ โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาสังคม ร่วมกันแสดงพลังกว่า 60 หน่วยงาน

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และประธาน PPP Plastics กล่าวว่า “ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เป็นหน่วยงานหลักสำคัญในการขับเคลื่อน BCG Model ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม“และในฐานะประธาน PPP Plastics ผมก็จะเดินหน้าสานต่อและขยายผลการดำเนินงานของ PPP Plastics เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570”  ดร.วิจารย์ กล่าวเพิ่มเติม

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) กล่าวว่า TBCSD  “ในฐานะองค์กรร่วมก่อตั้งโครงการ PPP Plastics พร้อมร่วมเดินหน้าเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างบูรณาการแบบครบวงจรและมีประสิทธิภาพ โดย TBCSD จะเชิญชวนองค์กร
ที่เป็น value chain ของกระบวนการจัดการพลาสติก ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางมาเข้าร่วมโครงการฯ และผมเชื่อว่าหากเรามี Partner  มากขึ้น จะทำให้การดำเนินงานโครงการฯประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น  รวมถึง TBCSD จะเดินหน้าขยายผลการดำเนินงานโครงการนี้ไปในวงกว้าง โดยอาศัยความร่วมมือขององค์กรสมาชิก TBCSD ที่เข้มแข็ง และความร่วมมือ   จากภาคีเครือข่ายและองค์กรพันธมิตรต่างๆ” 
       
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นได้จริงนั้น สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการขับเคลื่อนของหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง แต่เป็น “การสร้างการมีส่วนร่วม” ของทุกภาคส่วน ทางสภาอุตสาหกรรมฯ จึงมีความยินดีและขอร่วมเป็นหนึ่งในพันธมิตรกว่า 60 องค์กร ในการร่วมแรงร่วมใจ ทำให้เกิดโมเดลการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกันต่อไปในอนาคต”

นายอดิศร นุชดำรง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
นายอดิศร นุชดำรง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “PPP Plastics ถือเป็นความร่วมมือแรกของภาคเอกชนที่เข้ามามีบทบาททำงานร่วมกับภาครัฐ โดยได้เข้ามาเป็นหนึ่งในคณะทำงาน ภายใต้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานอนุกรรมการ เพื่อร่วมกันดำเนินงานตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 และ แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2565”
นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
 นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นการนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างเป็นรูปธรรมช่วยสร้างงานให้กับประชาชนและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้ร่วมมีบทบาทส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เราเผชิญอยู่และยังเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปในแนวทางที่ยั่งยืนอีกด้วย”

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวมอบนโยบาย BCG ขับเคลื่อนประเทศไทย และกล่าวว่า“วันนี้ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ มาร่วมผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนของพลาสติกในประเทศไทย และขอชื่นชมและขอบคุณ PPP Plastics ที่สามารถเชื่อมโยงหลากหลายหน่วยงานที่สำคัญให้มาทำงานร่วมกัน เพราะทุกคนทราบดีว่าการจะทำให้เกิด Circular Economy ขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ไม่มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือ
หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งสามารถสร้างให้เกิดขึ้นเองได้”