27 กรกฎาคม 2568

SACIT จัดงาน “สืบสานสู่สานต่อหัตถศิลป์ถิ่นสีสันของชุมชน” KOK Community

ดร.พิณทิพย์ วัชโรทัย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) Sacit พาสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมเยียนกลุ่มสตรีทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรม จาก นางจุไรรัตน์ สรรพสุข ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2558 ประเภทเครื่องจักสาน และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรมจาก นางมะลิ เพชรกุล ประธานกลุ่ม และ ชมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จาก นายอิสระ ชูภักดี ( New Young Craft ) ปี 2567  เจ้าของแบรนด์ กอกก ( korkok) จังหวัดจันทบุรี พร้อมพาคณะลงพื้นที่ต้นน้ำ บริเวณปลูกกกวัตถุดิบสำคัญของงาน




เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยผ่านงานกกและเสื่อจันทบูรสู่ผลงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย จากงาน “สืบสานสู่สานต่อหัตถศิลป์ถิ่นสีสันของชุมชน” KOK Community ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ จันทบุรี สัมผัสเรื่องราวของการทอเสื่อกกอันเป็นเอกลักษณ์ ชมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเส้นกกที่ผสมผสานระหว่างความดั้งเดิมและการออกแบบสมัยใหม่ พร้อมกิจกรรมเวิร์กชอปผ่านการสาธิตจริงจากช่างฝีมือท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง




นอกจากนี้ ดร.พิณทิพย์ วัชโรทัย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) Sacit ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมงานของกลุ่มสตรีทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรม จากนางจุไรรัตน์ สรรพสุข ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2558 ประเภทเครื่องจักสาน และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรมจาก นางมะลิ เพชรกุล ประธานกลุ่ม และ ชมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จาก  นายอิสระ ชูภักดี ( New Young Craft ) ปี 2567 เจ้าของแบรนด์ กอกก ( korkok) จังหวัดจันทบุรี พร้อมพาคณะลงพื้นที่ต้นน้ำ บริเวณปลูกกกวัตถุดิบสำคัญ ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์จากต้นกกอีกด้วย 



เสน่ห์ “กก” และ “เสื่อจันทบูร” หัตถศิลป์ทรงคุณค่าคู่ชุมชนจันทบุรี “กก” คือพืชท้องถิ่นที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดจันทบุรี ชาวบ้านนำมาผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยว ตากแห้ง จัดเส้น และย้อมสีอย่างประณีต ก่อนนำมาทอเป็นเสื่อและของใช้ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนาน “เสื่อจันทบูร” อยู่ที่ความละเอียดในการทอ ลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ และสีสันที่สดใสไม่ซ้ำใคร โดยฝีมือช่างผู้มีประสบการณ์ ประกอบกับคุณสมบัติของต้นกกในพื้นที่จันทบุรีที่มีลักษณะเฉพาะ มีความแข็งแรง คงทน ทำให้เสื่อมีความทนทาน มันวาว เหมาะสำหรับการใช้งานจริง และยังเป็นงานศิลป์ที่สะท้อนถึงรสนิยมและอัตลักษณ์ของชุมชน




จากสิ่งของที่เป็นเพียงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน วันนี้เสื่อจันทบูรถูกพัฒนาต่อยอดเป็นของตกแต่ง ของที่ระลึก และสินค้าไลฟ์สไตล์ร่วมสมัย อาทิ กระเป๋า พรม ปลอกหมอน และของประดับบ้าน ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้และโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนอีกด้วย


อิสระ ชูภักดี ปลุกกกให้ได้เกิดทั้งคนปลูกคนทอคนทำ

นายอิสระ ชูภักดี (อิส) ชาวจันทบุรี ( New Young Craft ) ปี 2567 เจ้าของแบรนด์ กอกก ( korkok) จังหวัดจันทบุรี คนรุ่นใหม่ที่นำกกมาทำประโยชน์ สร้างเป็นแบรนด์ของตัวเอง คุณอิสจบปริญญาตรี วิชาเอกสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัวกับครอบครัว และเป็นคอลัมนิสต์ให้กับวารสารจันท์ยิ้ม จุดเริ่มต้นของการทำแบรนด์ (แรงบันดาลใจ)จากปลุกกกให้เกิด พัฒนาต่อยอดอย่างงดงาม KORKOK คือ แบรนด์กระเป๋าเสื่อกกจันทบูร ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจในการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวจันทบุรี 



“ปลุกกกให้เกิด” ผ่านการสร้างระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่ คนปลูก คนทอ จนถึงคนสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน ผสานดีไซน์ร่วมสมัยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เสื่อกกไม่ใช่แค่วัสดุท้องถิ่น แต่กลายเป็นแรงบันดาลใจใหม่ในแฟชั่นและการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน โดยการทำงานร่วมกับป้าๆ ที่พวกเราเรียกว่าแม่ครู ทุกคนยินดีสอนและให้คำแนะนำแบบไม่หวงวิชา พอได้ลงมือทำเองรู้เลยว่ายากมาก กว่าจะเป็นกกแต่ละเส้นไม่ใช่เรื่องง่าย จึงเข้าใจว่าทำไมคนรุ่นใหม่ไม่อยากทำ เพราะทำช้า ได้เงินน้อย ในขณะที่เรามองว่านี่แหละคืออาชีพที่ยั่งยืน ไม่ร่ำรวยแต่อยู่ได้ มีความสุข



“กกสองน้ำ” กกพื้นถิ่นที่เติบโตในน้ำกร่อย ให้เส้นใยเหนียว มันวาว สวยงาม ทอเป็นเสื่อกกจันทบูรที่มีคุณภาพ แข็งแรง ทนทาน ไม่ขึ้นรา งานหัตถศิลป์ร่วมสมัยที่ผสานภูมิปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สู่ผลิตภัณฑ์ GI มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  ปกติคนทำกก พอตากแห้งแล้วก็จะเก็บเป็นสต๊อกไว้ทอเป็นเสื่อตลอดปี เราให้ป้าทอเสื่อให้ พอจะจ่ายเงิน ป้าบอกไม่เอาเงินแต่ขอเป็นกกแห้งแทน เงินดูจะไม่สำคัญเท่าการมีกกไว้ คนทำเสื่อเค้ารู้ดีว่าการมีกกแห้งไว้เหมือนมีทองคำประดับกาย คำว่ากกแพงกว่าทองคำนั้นดูจะเป็นเรื่องจริง เพราะกกคืองาน กกคือสร้างรายได้ กกคือชีวิต ฤดูกาลเก็บเกี่ยวในรอบนี้  ผลผลิตจาก กกสดราวๆ 700 กก. จ้างตัด จ้างจัก งบประมาณราวหมื่นกว่า ทำแห้งเสร็จรวมยอดได้ 139 กก. ราคาขาย กก.ละ 120 บาท รวมรายได้ 16,680 บาท แต่ในระหว่างขั้นตอน มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งนี่-นั่นกระจายระหว่างทางที่ไม่ได้คิด เบ็ดเสร็จหักลบค่าต้นทุนกับรายได้ะพอดีกัน กำไรไม่เห็น แต่สิ่งที่ได้ คือ รอยยิ้มและความภาคภูมิใจ ต่อวงจรชีวิตกกเพื่อให้คงอยู่ การปลูกกกที่ไม่ได้หวังเพียงกำไร แต่เห็นรอยยิ้มของคนทำเสื่อ มีกกไว้ใช้ก็ดีใจแล้วทำเท่าที่กำลังไหว และจะทำต่อในวิถีชีวิตแบบคนจันทบุรี เราเข้าใจแล้วว่า ‘ขาดทุนคือกำไร‘ มันมีความหมายอย่างไร แม้จะเหนื่อยแต่มีความสุข



KORKOK ที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและเรื่องราว จากเส้นกกธรรมชาติสู่ดีไซน์ร่วมสมัย ผสานพลังของ ‘แม่ครูทอเสื่อ’ รุ่นเก๋า กับความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ สู่แฟชั่นไอเท็มที่งดงามและเปี่ยมเสน่ห์เหนือกาลเวลาจากสิ่งของที่เป็นเพียงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน วันนี้เสื่อจันทบูรถูกพัฒนาต่อยอดเป็นของตกแต่ง ของที่ระลึก และสินค้าไลฟ์สไตล์ร่วมสมัย อาทิ กระเป๋า พรม ปลอกหมอน และของประดับบ้าน ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้และโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนอีกด้วย



ปลุกกก ให้ได้เกิด ทั้งคนปลูก คนทอ คนทำ
TEL: 085 199 2488
FB  : KORKOK
IG  : KORKOKCHAN

#KORKOK
#เสื่อกกจันทบูร
#SACIT #สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
#KORKOK #เสื่อกกจันทบูร
#มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
#ปลุกกกให้ได้เกิดทั้งคนปลูกคนทอคนทำ

วิริยะประกันภัย นำวิริยะจิตอาสาร่วมส่งกำลังใจผู้ประสบภัย กรณีเหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย – กัมพูชา

นายธีราทร แสงเงิน ผู้จัดการศูนย์ปฏิบัติการสินไหมทดแทนศรีสะเกษ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) นำกลุ่มวิริยะจิตอาสา มอบถุงยังชีพและเครื่องอุปโภค – บริโภค แก่ศูนย์รับบริจาคที่ว่าการอำเภอโนนคูณ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น และอำนวยความสะดวกด้านการดำรงชีวิตให้กับผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชา ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และจิตอาสาทุกภาคส่วน ในการทำหน้าที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด ณ ที่ว่าการอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ 






นอกจากนี้ กลุ่มวิริยะจิตอาสา และตัวแทนสาขาและศูนย์ปฏิบัติการสินไหมทดแทน ในพื้นที่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ยังได้ร่วมสนับสนุนเครื่องอุปโภค – บริโภค และจัดเตรียมอาหารปรุงสุก แก่ผู้ประสบภัยที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวในพื้นที่จังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี ทั้งนี้ บริษัทฯ พร้อมที่จะสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์จะกลับคืนเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยเร็วที่สุด

26 กรกฎาคม 2568

SACIT ปลุกชีพ “งานกกและเสื่อจันทบูร” สู่งานสร้างสรรค์ร่วมสมัย

Sacit พาสื่อมวลชนลงพื้นที่ เยี่ยมชม กลุ่มสตรีทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม หมู่ 10 ชมกรรมวิธีการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมจาก นางจุไรรัตน์ สรรพสุข ครูช่าศิลปหัตถกรรม มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่าน "ครูศิลป์ของแผ่นดิน และครูช่างศิลปหัตถกรรม"  และมีการบูรณาการการทำงานร่วมกับ ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น  มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้กับเครือข่ายต่างๆ ให้ได้ร่วมคิด ร่วมทำ เกิดความคิดและทางเลือกใหม่ ๆ เกิดพลังชุมชนที่เข้มแข็งจากฐานราก  มีความพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมในพื้นที่ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม วิถีชุมชน กับการท่องเที่ยวได้อย่างสมดุล 




ดร.พิณทิพย์ วัชโรทัย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) Sacit พาสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมเยียนกลุ่มสตรีทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรม จาก นางจุไรรัตน์ สรรพสุข ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2558 ประเภทเครื่องจักสาน และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรมจาก นางมะลิ เพชรกุล ประธานกลุ่ม และ ชมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จาก  นายอิสระ ชูภักดี ( New Young Craft ) ปี 2567  เจ้าของแบรนด์ กอกก ( korkok) จังหวัดจันทบุรี พร้อมพาคณะลงพื้นที่ต้นน้ำ บริเวณปลูกกกวัตถุดิบสำคัญของงาน

เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยผ่านงานกกและเสื่อจันทบูรสู่ผลงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย จากงาน “สืบสานสู่สานต่อหัตถศิลป์ถิ่นสีสันของชุมชน” KOK Community ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ จันทบุรี สัมผัสเรื่องราวของการทอเสื่อกกอันเป็นเอกลักษณ์ ชมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเส้นกกที่ผสมผสานระหว่างความดั้งเดิมและการออกแบบสมัยใหม่ พร้อมกิจกรรมเวิร์กชอปผ่านการสาธิตจริงจากช่างฝีมือท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง

นอกจากนี้ ดร.พิณทิพย์ วัชโรทัย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) Sacit ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมงานของกลุ่มสตรีทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรม จากนางจุไรรัตน์ สรรพสุข ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2558 ประเภทเครื่องจักสาน และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรมจาก นางมะลิ เพชรกุล ประธานกลุ่ม และ ชมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จาก  นายอิสระ ชูภักดี ( New Young Craft ) ปี 2567 เจ้าของแบรนด์ กอกก ( korkok) จังหวัดจันทบุรี พร้อมพาคณะลงพื้นที่ต้นน้ำ บริเวณปลูกกกวัตถุดิบสำคัญ ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์จากต้นกกอีกด้วย 



เสน่ห์ “กก” และ “เสื่อจันทบูร” หัตถศิลป์ทรงคุณค่าคู่ชุมชนจันทบุรี “กก” คือพืชท้องถิ่นที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดจันทบุรี ชาวบ้านนำมาผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยว ตากแห้ง จัดเส้น และย้อมสีอย่างประณีต ก่อนนำมาทอเป็นเสื่อและของใช้ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนาน “เสื่อจันทบูร” อยู่ที่ความละเอียดในการทอ ลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ และสีสันที่สดใสไม่ซ้ำใคร โดยฝีมือช่างผู้มีประสบการณ์ ประกอบกับคุณสมบัติของต้นกกในพื้นที่จันทบุรีที่มีลักษณะเฉพาะ มีความแข็งแรง คงทน ทำให้เสื่อมีความทนทาน มันวาว เหมาะสำหรับการใช้งานจริง และยังเป็นงานศิลป์ที่สะท้อนถึงรสนิยมและอัตลักษณ์ของชุมชน







โครงการ “สืบสานสู่สานต่อหัตถศิลป์ถิ่นสีสันของชุมชน” KOK Community ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ จังหวัดจันทบุรี นี้ จึงจัดขึ้นเพื่อต่อยอดและส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชน สนับสนุนการอนุรักษ์งานหัตถศิลป์ สืบสานภูมิปัญญาการทอเสื่อกกของชุมชนจันทบุรี และสร้างความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดมายาวนาน รวมทั้งการต่อยอดงานหัตถศิลป์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และมีส่วนร่วม และช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสร้างรายได้สู่ท้องถิ่นได้ในระยะยาว  

เสน่ห์ “กก” และ “เสื่อจันทบูร” หัตถศิลป์ทรงคุณค่าคู่ชุมชนจันทบุรี

“กก” คือพืชท้องถิ่นที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดจันทบุรี ชาวบ้านนำมาผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยว ตากแห้ง จัดเส้น และย้อมสีอย่างประณีต ก่อนนำมาทอเป็นเสื่อและของใช้ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนาน



โดยมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่าน "ครูศิลป์ของแผ่นดิน และครูช่างศิลปหัตถกรรม"  และมีการบูรณาการการทำงานร่วมกับ ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น  มุ่งเน้นการสร้างโอกาสให้กับเครือข่ายต่างๆ ให้ได้ร่วมคิด ร่วมทำ เกิดความคิดและทางเลือกใหม่ ๆ เกิดพลังชุมชนที่เข้มแข็งจากฐานราก  มีความพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมในพื้นที่ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม วิถีชุมชน กับการท่องเที่ยวได้อย่างสมดุล ซึ่งช่วยให้ชุมชนสามารถพัฒนาสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศิลปหัตถกรรมไทย ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน





นอกจากนี้ ดร.พิณทิพย์ วัชโรทัย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) Sacit ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมงานของกลุ่มสตรีทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรม จากนางจุไรรัตน์ สรรพสุข ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2558 ประเภทเครื่องจักสาน และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม ชมวิธีสร้างสรรค์หัตถกรรมจาก นางมะลิ เพชรกุล ประธานกลุ่ม และ ชมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จาก  นายอิสระ ชูภักดี ( New Young Craft ) ปี 2567 เจ้าของแบรนด์ กอกก ( korkok) จังหวัดจันทบุรี พร้อมพาคณะลงพื้นที่ต้นน้ำ บริเวณปลูกกกวัตถุดิบสำคัญ ขั้นตอนการผลิตภัณฑ์จากต้นกกอีกด้วย 



จากสิ่งของที่เป็นเพียงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน วันนี้เสื่อจันทบูรถูกพัฒนาต่อยอดเป็นของตกแต่ง ของที่ระลึก และสินค้าไลฟ์สไตล์ร่วมสมัย อาทิ กระเป๋า พรม ปลอกหมอน และของประดับบ้าน ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้และโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนอีกด้วย

#SACIT #kokcommunity
#จันทบุรี #สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย #ครูช่าง #กก