“หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย”
รองรับงาน Chiangrai International Art Museum :CIAM 2023
สถานที่แห่งนี้ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย Chiangrai international art museum (CIAM) บนพื้นที่กว่า 17 ไร่ ของโครงการก่อสร้างหอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย เป็นที่ดินที่ได้รับบริจาคจาก นายทวี อร่ามรัศมีกุล จำนวนกว่า 17 ไร่
ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ \ และศิลปินขัวศิลปะเชียงราย เพื่อสร้างการรับรู้ และเฉลิมฉลองการเป็นเจ้าภาพจัดงานศิลปะระดับโลก Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ภายใต้แนวคิด “เปิดโลก” The open world
ทั้งนี้ขบวนศิลปะร่วมสมัยของแต่ละอำเภอทั้ง 18 อำเภอในจังหวัดเชียงราย เป็นการนำเสนอแนวคิด อัตลักษณ์ วิถีชีวิต ประเพณี ผ่านผลงานประติมากรรมร่วมสมัย ผสมผสานขบวนแห่ในรูปแบบของ Carnival art ซึ่งถือว่าเป็น art carnival เพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย
วันนี้แอดมิน Toptotravel ถือโอกาสนำเรื่องราวน่ารู้ของ “หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย” (CIAM 2023) มาแนะนำให้แฟนเพจได้ทำความรู้จักกันพอสังเขปก่อนที่จะได้ชมความงามและความยิ่งใหญ่ของสถานที่จริงในช่วงนิทรรศการ หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย คือพื้นที่ศิลปะแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงราย บนพื้นที่กว่า 6 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ติดต่อเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ ตรงข้ามท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เพื่อรองรับการจัดงาน Thailand Biennale ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 และบริเวณโดยรอบจะมีการก่อสร้างอาคารอื่นๆ พร้อมด้วยหมู่บ้านศิลปิน Art Village จำนวน 32 หลัง โดยการบริจาคที่ดินของ คุณทวีชัย อร่ามรัศมีกุล และงบประมาณในการก่อสร้างโดยทุนทรัพย์ส่วนตัวของศาตรเมธี ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย และผู้ให้การสนับสนุน
ตัวอาคารสูงเทียบเท่าตึก 7 ชั้น รูปลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมดูเรียบง่ายร่วมสมัย ดูเสมือนรูปทรงเลขาคณิตวางซ้อน ชวนให้นึกถึงการวางหุ่นนิ่งในชั้นเรียนวิชาศิลปะอันเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ของศิลปินร่วมสมัยทุกคน หากแต่แฝงนัยของความหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของศิลปะในจังหวัดเชียงราย สถาปัตยกรรมลักษณะเหมือนหอคอย ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 อาคารหลัก เป็นการผสมผสานศิลปะที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของ 2 ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย 2 ได้แก่ บ้านดำ ของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนีและวัดร่องขุ่น ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ บริเวณพีรามิดกระจกของ CIAM จะเป็นจุดที่เรียกว่าหอชมเมืองเชียงราย ซึ่งสามารถชมทัศนียภาพของเมืองเชียงราย รวมถึงภูมิประเทศของเมืองเชียงรายแบบ 360 องศา ชวนให้นึกถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะระดับโลกอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ในประเทศฝรั่งเศส
Sky walk สะพานเชื่อม วัดขาว-บ้านดำ เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของ CIAM ก่อสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรงมั่นคงความยาวกว่า 20 เมตร แฝงความหมายของคำว่าสะพาน ซึ่งภาษาเหนือที่เรียกว่า “ขัว” เพื่อระลึกถึงการก่อตั้งสมาคมขัวศิลปะ และการเดินทางแห่งความภาคภูมิใจของศิลปินเชียงราย สู่การเป็นสมาคมขัวศิลปะที่มั่นคงความเข็มแข็งและนำความภาคภูมิใจสู่จังหวัดเชียงรายและประเทศไทย
ด้านหน้าอาคารรูปทรงแท่งสี่เหลี่ยมจากฐานอาคารสลับกระจกใสทั้งเก้าต้น คือ เสาหลักแห่งศิลปะ เปรียบเสมือนความเจริญก้าวหน้าของศิลปวัฒนธรรมในแผ่นดินเชียงราย เป็นดินแดนที่หลอมรวมศิลปวิทยาการมาตั้งแต่อดีต ความหลากหลายของชาติพันธุ์ วัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ภูมิประเทศที่หลากหลาย จึงทำให้เชียงรายเป็นดินแดนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการสร้างสรรค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อแล้วเสร็จภายในอาคารจะประกอบด้วย ห้องเกียรติยศ ถวัล ดัชนีย์ / ห้องเกียรติยศ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ /ห้องแสดงนิทรรศการ/ ห้องจัดจำหน่ายผลงานศิลปะและสินค้าของที่ระลึก/ห้องประชุม/ ห้องโถงขนาดใหญ่เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมต่างๆ / Art Café Art Lab / ศูนย์เรียนรู้ และปฏิบัติการด้านศิลปะ/ ห้องฉายภาพยนตร์ 40 ที่นั่ง / ห้องจัดแสดงผลงานหมุนเวียน อีกทั้ง ลานกิจกรรมกลางแจ้ง ลานประติมากรรมร่วมสมัย ซึ่งพร้อมเปิดบ้านต้อนรับศิลปินและนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกที่จะมาร่วมพิธีเปิดงาน Thailand Biennale Chiangrai 2023 ในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 นี้ ด้วยความยิ่งใหญ่สุดประทับใจ
เชียงราย เบียนนาเล่
ขอขอบคุณข้อมูล : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย / กระทรวงวัฒนธรรม
https://www.chiangraifocus.com/13550/
#thailandbiennale
#thailandbiennalechiangrai2023
#ไทยแลนด์เบียนนาเล่
#เบียนนาเล่เชียงราย#เชียงราย #thailandbiennale
#thailandbiennalechiangrai2023
#ไทยแลนด์เบียนนาเล่
#เบียนนาเล่เชียงราย
#เที่ยววันธรรมดา
#AmazingWeekdays
#StayAtChiangrai
#เที่ยวสบายๆสไตล์เชียงราย
#AmazingChiangRaiLifestyle
#โมเมนต์ที่ใช่สร้างได้ไม่ต้องรอ
#สุขทันทีที่เชียงราย #toptotravel #ชัญญ่าว่าดี