ส่งเสริมการเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (โอรัง อัสลี)”
วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 น. ณ บริเวณ หมู่ที่ 7 บ้านเขาน้ำตก ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา นายมนตรี เสฏฐปัญโญ นายอำเภอบันนังสตา/ผอ.ศปก.อ.บันนังสตา พร้อมด้วย นายสมใจ บุญอาจ ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา และ เกษตรอำเภอ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานทะเบียนและบัตร ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบลตลิ่งชัน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่กสร.(กศน.) ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ผู้แทน ผบ.ทพ.ที่ 30 และบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ลงพื้นที่ พบปะเยี่ยมเยียนเพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดจนการส่งเสริมการเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ(โอรัง อัสลี)
นายมนตรี กล่าวว่า ในการลงพื้นที่ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพบปะเยี่ยมเยียน และหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนการส่งเสริมให้เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานในด้านต่างๆ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ(โอรัง อัสลี) จากทุกภาคส่วน เช่น ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านการประกอบอาชีพ ด้านที่อยู่อาศัยที่มีความมั่นคงและถาวร โดยในวันนี้ สาธารณสุข ได้นำทีมเจ้าหน้าที่ มาตรวจสุขภาพในเบื้องต้นพร้อมจ่ายยาและเวชภัณฑ์ให้กับผู้ที่เจ็บป่วย กสร.(กศน.) ได้ชี้แจงทำความเข้าเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษา ตลอดจนการใช้ภาษาในการสื่อสารในเบื้องต้น ทั้งนี้ได้ตกลงนัดหมายให้มาเข้าเรียนกับครูของกสร.(กศน.) เพื่อให้สามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ในส่วนของอำเภอ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานทะเบียนและบัตรทำการสอบถามถ้อยคำเบื้องต้นกลุ่มชาติพันธุ์ฯ และผู้นำท้องที่เพื่อหาแนวทางในการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ต่อไป ทั้งนี้ ศปก.อ.บันนังสตา ได้นำถุงยังชีพและสิ่งของที่จำเป็น จำนวน 30 ชุด มามอบให้กลุ่มชาติพันธุ์มานิ(โอรัง อัสลี) เพื่อเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น ทั้งนี้จะได้บูรณาการจากทุกภาคส่วนในการหาแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม ต่อไป
นายสมใจ กล่าวต่อว่า มันนิ (Mani) มานิ หรือมาเน๊ะ เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึงมนุษย์เป็นชื่อเรียกของชนเผ่าในกลุ่มชาติพันธุ์ นิกรอยด์หรือเนกริโต (Nigerito) ตระกูลออสโตร-เอเชียติก รูปพรรณสัณฐานของมันนิ มีรูปร่างเตี้ย ผิวดําคล้ำ ผมหยิกขมวดเป็นฝอย จมูกแบนกว้าง ริมฝีปากหนา คิ้วตกหนา นัยน์ตาสีดําเป็นประกาย นิ้วมือนิ้วเท้าโต โดยทั่วไปผู้อื่นมักเรียกกลุ่มชนนี้ว่า เงาะ เงาะป่า เซมัง ชาวป่า ซาแก ซาไก หรือกอย ซึ่งล้วนมีความหมายว่าลิงป่า คนป่า คนเถื่อน หรือผู้ที่ยังไม่เจริญ ซึ่งเป็นคำเหยียดหยาม ที่มันนิไม่ต้องการให้ใช้เรียกเผ่าพันธุ์ของตน ในภาษามาเลย์เรียกชนกลุ่มนี้ว่า โอรัง อัสลี (Orang Asli) หมายถึงคนพื้นเมืองหรือคนดั้งเดิม เรื่องราวของชนเผ่านี้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองพัทลุง จัดหาลูกเงาะมาถวายและทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงไว้ สนองพระเดชพระคุณที่กรุงเทพมหานคร ดังปรากฏเนื้อความในบทพระราชนิพนธ์เงาะป่าตอนหนึ่ง (ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
#นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้จังหวัดยะลา
#พมช่วย24ชั่วโมง
#ช่วย24ชั่วโมง
#กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ