10 กรกฎาคม 2563

STARTDEE ชวนปรับ “TECH” เป็น “TEACHER” ชี้เทคโนโลยีการศึกษายุคใหม่ ต้องเข้ามาเป็น ‘ตัวช่วย’ ไม่ใช่‘สิ่งทดแทน’

แม้โรงเรียนจะกลับมาเปิดเทอมตามปกติแต่แน่นอนว่ารูปแบบการสอนและการเรียนรู้ของเด็กไทยจำต้องเปลี่ยนแปลงไป โควิด-19 ส่งผลกระทบกับโลกในหลายด้าน และยังเป็นตัวเร่งสำคัญในการดึงเอาอนาคตมาเป็นปัจจุบัน การเรียนรู้ยุคใหม่จึงต้องก้าวตามทันความเปลี่ยนแปลง ทิศทางการศึกษาไทยจึงเป็นยุคแห่งการเข้ามาของเทคโนโลยี และยังคงต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นที่มาของ STARTDEE EDUCATION FORUM 2020 กับคำถามที่ร่วมกันหาคำตอบว่า “เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังเปิดเทอมเปลี่ยนไป ออกแบบการศึกษาอย่างไร ให้เด็กไทยเรียนรู้ได้อย่างไร้รอยต่อ” พร้อมเชิญผู้คร่ำหวอดในวงการการศึกษาไทยร่วมเสวนาระดมความคิดสะท้อนมุมมองจาก ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเทคโนโลยีทางการศึกษา ภาคบุคลากรทางการศึกษา หรือคุณครู และภาคสื่อการเรียนรู้ หรือตัวแทนผู้ปกครอง
คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้ก่อตั้ง StartDee แอปพลิเคชันด้านการศึกษาที่มุ่งนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบการศึกษาไทย โต้โผสำคัญของการจัดงาน STARTDEE EDUCATION FORUM 2020 กล่าวว่า เทคโนโลยีจะเข้ามาเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การศึกษาใน New Normal เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ พร้อมชูแนวคิด ‘TURN TECH TO TEACHER’ นำเทคโนโลยีมาช่วยปลดล็อคการศึกษา ดังนี้

T - Teaching                (เนื้อหาการสอน)
ให้บริการบทเรียนคุณภาพที่ให้ความรู้อย่างครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิตที่จำเป็น
E – Experience         (ประสบการณ์การเรียน)        
            สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุก สั้นกระชับ และเข้าใจง่าย ตอบโจทย์ผู้เรียนยุคใหม่
C - Classroom          (ตัวช่วยครูในห้องเรียน)          
            เป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนให้กับครู ไม่ได้มาแทนที่
H - Handmade/Personalized  (เฉพาะบุคคล)              
            การเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคน ราวกับออกแบบมาให้เราคนเดียว 
นอกจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี (TECH) แล้ว คุณพริษฐ์ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงความตั้งใจของ StartDee ที่จะร่วมพัฒนาการศึกษาไทยให้ดียิ่งขึ้นอย่างรอบด้าน ได้แก่
A – Access (ขยายการเข้าถึง) เข้าถึงง่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทั้ง iOS, Android และ Desktop พร้อมร่วมมือกับ AIS แจกซิมฟรี ให้เด็ก ๆ ทั่วประเทศใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าอินเทอร์เน็ต
E – Equality (สร้างความเท่าเทียม) สนับสนุนความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยการร่วมมือกับ Garena, Taejai และบริษัทที่สนใจด้านการศึกษา เพื่อมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กที่อยู่ห่างไกลและมีฐานะยากจน
R – Research & Data (ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล) นำข้อมูลที่มีมาใช้วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาให้ตอบโจทย์ผู้เรียนมากขึ้นอยู่เสมอ รวมถึงวางแผนร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อออกแบบงานวิจัยร่วมกัน
นอกจากนี้ เมื่อกล่าวถึงประเด็นการออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเดินหน้าต่อได้อย่างไร้รอยต่อ คุณพริษฐ์ได้แบ่งปันมุมมองว่า สิ่งที่ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีการศึกษาควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ การออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องไปกับประสบการณ์เรียนออนไลน์ (online experience) ของผู้เรียน ด้าน ดังนี้
จูงใจ” เริ่มจากการดึงดูดผู้เรียนให้อยากเข้ามาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ โดยทำให้การเรียนกลายเป็นเรื่องสนุก ผ่านฟีเจอร์ StartDee World ที่สอดแทรกความเป็นเกม (Gamification) เข้าไปในการเรียนรู้ ซึ่งพบว่าช่วยให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นถึง 72 % นับเป็นองค์ประกอบในการเรียนรู้ที่ช่วยให้เด็กตั้งใจเรียนได้ แม้ไม่มีคุณครูคอยกำกับการเรียนการสอน 
จดจ่อ” เมื่อจูงใจให้เข้ามาใช้งานได้แล้ว ต้องออกแบบบทเรียนที่ดึงความสนใจให้เรียนจนจบได้ จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับชมวิดิโอกว่า 3,000 รายการของ StartDee พบว่า คลิปที่มีความยาวประมาณ 2-3 นาที มีอัตราการชมคลิปจนจบสูงถึง 70-80% ในขณะที่คลิปซึ่งมีความยาวเกิน นาที จะมีจำนวนคนรับชมคลิปจนจบน้อยลงเรื่อยๆ อย่างมีนัยยะสำคัญ และหากคลิปวิดิโอมีความยาวเกิน 10 นาที จะเหลือผู้เรียนที่รับชมคลิปจนจบเพียง 50% เท่านั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เนื้อหาที่จะช่วยให้ผู้เรียนจดจ่อได้ ต้องไม่ยาวจนเกินไป
จดจำ” สุดท้ายนี้ การจะออกแบบบทเรียนออนไลน์ให้สัมฤทธิ์ผลสูงสุดได้ ต้องเข้าใจและจดจำได้ง่าย ซึ่งบทเรียนของ StartDee ใช้วิธีการ Story-telling คือ เริ่มต้นคลิปด้วยบทบาทสมมติที่สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียน พร้อมแอนิเมชันและ real-time pop-up text ที่ช่วยให้ journey ในการเรียนลื่นไหลและง่ายต่อการจดจำ



คุณทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล นักวิชาการด้านการปฏิรูปการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้เผยบทเรียนสำคัญที่ภาคการศึกษาได้รับว่า ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง ทิศทางการปรับตัวในอนาคตต้องเริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ชัด แล้วเริ่มหาทางออกที่สอดคล้องกับบริบทใหม่ “ทุกภาคส่วนต้องมองหาวิธีการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษามากขึ้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องเปิดโอกาสให้การออกแบบการสอนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ผสมผสานระหว่างระบบออฟไลน์และออนไลน์ ให้ตรงกับบริบทการสอนที่หลากหลาย”
ด้านตัวแทนคุณครูรุ่นใหม่ ครูร่มเกล้า ช้างน้อย ครูคณิตศาสตร์จาก โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม เจ้าของไอเดียขับเคลื่อนการสอนรูปแบบใหม่ใน Inskru ได้เล่าถึงหัวใจของการปรับการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเรียนที่เปลี่ยนไปว่า ต้องย้อนกลับไปทำความเข้าใจนักเรียนก่อน ว่ามีความพร้อม-ไม่พร้อมอย่างไรบ้าง และต้องศึกษาทุกความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอน “ตัวอย่างผลงานที่เคยทำ คือ QR Sheet เป็นเอกสารประกอบการเรียนที่มี QR code ไปสู่คลิปบทเรียน กำกับในเนื้อหาแต่ละเรื่อง ออกแบบมาให้สอดคล้องกับ journey ของผู้เรียน มีระดับความง่าย-ยาก ไล่เรียงกันไป
ด้านคุณเมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ ผู้ก่อตั้ง BASE Playhouse โรงเรียนแนวใหม่ที่ให้เด็กทุกคนจะเติบโตและเก่งในแบบของตัวเองได้ ได้แชร์มุมมองถึงการออกแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียนในอนาคต ว่านอกจากความรู้ทางวิชาการแล้ว ต้องคำนึงถึง ทักษะ หรือ ความสามารถอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานด้วย โดยผสานการฝึกฝนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เข้ากับเทคโนโลยีให้เกิดเป็นประสบการณ์เรียนที่สนุกอย่างแท้จริง “โจทย์ของเราในยุคต่อจากนี้ คือ การสร้างทักษะให้เด็กยุคใหม่เก่งได้ โดยใช้สัดส่วนของออนไลน์แพลตฟอร์มมาช่วยอย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำลายความสนุก และเสน่ห์ของการฝึกผ่านการลงมือทำจริง
ปิดท้ายที่คุณกัญญาภัค บุญแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ได้ให้ความเห็นว่า พ่อแม่และผู้ปกครองจะเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในการส่งเสริมการเรียนหลัง new normal ของลูก แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องปรับตัวให้เท่าทันรูปแบบการเรียนและความสนใจของลูกในยุคดิจิทอลให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-study) การเปิดใจและยอมรับพฤติกรรมการเสพข้อมูลบนโลกออนไลน์ของลูก ช่วยเฟ้นหาตัวเลือกเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่เหมาะสมกับลูกที่สุด ไปจนถึงการปลูกฝังการรักการอ่านและทักษะชีวิตที่สำคัญในโลกอนาคต “ที่ผ่านมาพ่อแม่และผู้ปกครองอาจทิ้งภาระและความคาดหวังทางการเรียนของลูกไว้ที่โรงเรียน แต่โควิด-19 ได้สอนบทเรียนให้เรารู้ว่า การสนับสนุนจากสถาบันครอบครัวนั้นสำคัญยิ่งกว่าสิ่งใด และนี่ก็นับว่าเป็นความท้าทายของระบบการศึกษาไทย ไม่ใช่เพียงแต่เฉพาะเด็กนักเรียน แต่รวมไปถึงทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน โรงเรียน คุณครู รวมไปถึงผู้ปกครอง ในการที่จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยงแปลงของการศึกษาโลกในยุคใหม่พร้อมใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นตัวช่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด