วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2563 เวลา 16.00 น. ณ ห้องพัชราภา โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร นาย สุทธิ จันทะวงษ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มอบหมายรองอธิบดี นางสาวซาราห์ บินเย๊าะ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำรุ่นใหม่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (Developing the Potential Effectiveness of DSDW Next Generation Leaders) มีนางสาวสนธยา บุณยภูษิต เลขานุการกรมกล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายโชคชัย วิเชียรชัยยะ นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการร่วมเป็นเกียรติ
การจัดโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้นำยุคใหม่ ที่มีความรู้ มีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจ อันเป็นการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางาน ตามแนวคิด 4 SMART ซึ่งประกอบด้วย การบริการที่เป็นเลิศ (Smart Service) การสร้างเครือข่าย (Smart Network) การสร้างภาพลักษณ์องค์กร(Smart Office) และการสร้างภาพลักษณ์บุคลากร (Smart)
โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงานใหม่ ในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจำนวนทั้งสิ้น 33 คนสรุปปนะเด็นสำคัญในการอบรมในครั้งนี้ เพื่อให้หัวหน้าหน่วยงาน
๑. แนวทางการกำกับดูแลด้านการเงิน การคลังและการบริหารพัสดุได้ศึกษาและสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากร ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและพัสดุ เรื่องของกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับในการเบิกจ่ายงบประมาณให้ถูกต้องตามระเบียบ และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
๒. การทำงานสวัสดิการสังคมเชิงรุกต้องการทำงานที่เน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยยึดประชาชนเป็นหลัก ฝึกให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ และเน้นผลิตภาพสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถนำไปปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการ และบทบาทในการให้บริการ รวมไปถึงการเชื่อมโยงการให้บริการ อีกทั้งการนำแนวคิดเรื่องของ Case Management มาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
๓. การพัฒนาบุคลิกภาพและการสื่อสารการมีบุคลิกภาพที่ดีนั้น ไม่ได้มีมาตั้งแต่กำเนิด แต่สามารถสร้างได้ด้วยตนเอง โดยการปรับทัศนคติ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและหมั่นฝึกฝนให้เป็นนิสัย การมีบุคลิกภาพที่ดีของผู้นำ สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวเอง สร้างการยอมรับและความน่าเชื่อถือให้กับผู้นำ รวมไปถึงภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์กร การมีบุคลิกภาพที่ดี
โดยพฤติกรรมที่จะช่วยเสริมบุคลิกภาพที่ดี ทั้งสีหน้า การยิ้มแย้มเป็นกันเอง ความจริงใจ การวางตัว ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การรักษาความมั่นคงทางอารมณ์ การแต่งกาย สามารถคุมสติ และแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ รวมไปถึงการเรียนรู้ที่จะนำลักษณะเฉพาะตัวมาช่วยเสริมบุคลิก เช่น การมีอารมณ์ขัน อีกทั้งบุคลิกภาพในการสื่อสาร การพูดในที่สาธารณะ การแต่งกาย การถือไมโครโฟนระหว่างการพูด ทั้งนี้ จะสามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำ สร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้พบเห็น ภาคีเครือข่าย ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมไปถึงสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้นำเองด้วย
๔. นวัตกรรมการทำงานยุคใหม่ พร้อมรับมือยุค New Normal การทำงานในยุค New Normal นั้น อาจต้องมีการปรับวิธีการทำงานให้มีความยืดหยุ่นที่มากขึ้น การดำเนินการใดๆ ไม่สามารถจะใช้วิธีการเดียวได้อีกแล้ว แต่วิธีการที่ยืดหยุ่นนั้น ยังคงต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม รวมไปถึงมีการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ปฏิบัติงาน ได้ลองแสดงความคิดเห็นในแนวทางที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจได้แนวทางใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน
๕. เทคนิคการบริหารงานบุคคลยุคใหม่การบริหารงานบุคคลยุคใหม่นั้น ต้องเน้นความเป็นเลิศในด้านการบริการ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงต้องเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการทำงาน และต้องมีทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างกันยุคใหม่ พร้อมรับมือยุค New Normal หัวหน้าหน่วยงานในยุคใหม่ พร้อมรับมือยุค New Normalต่อไป