24 สิงหาคม 2561

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจัดงานมอบรางวัล PM Award 2018

ชูแนวคิด“Leading The Way”


นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น(Prime Minister’s Export Award : PM Award 2018) รับรองคุณภาพของผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สากล ในปีนี้ได้ใช้แนวคิด ‘Leading The Way’ สะท้อนถึงเส้นทางเดินแห่งความสำเร็จของนักธุรกิจไทย ซึ่งจัดโดยสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า “การส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศบนเวทีโลก ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริมภาคการค้าระหว่างประเทศของไทยอย่างดีเสมอมารัฐบาล จึงได้มีนโยบายหลักที่มุ่งเน้นให้เกิดการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อีกทั้งนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ผลักดันให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลด้วยการเน้นใช้นวัตกรรมในการออกแบบและผลิต เพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการให้เป็นที่ต้องการของตลาดโลก ทั้งยังเน้นสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตสินค้าและบริการไทย โดยคงเอกลักษณ์แบบไทยอันโดดเด่นที่ไม่อาจหาได้จากที่อื่นใด เมื่อภาคการส่งออกและภาคธุรกิจโดยรวมเข้มแข็งก็จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคส่วนอื่นภายใต้พลังประชารัฐทำให้เศรษฐกิจฐานรากและภาคประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นเป็นลำดับ”
นางสาว ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “กระทรวงพาณิชย์มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้การช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยทั้งภาคการส่งออกและผู้ประกอบการรายย่อยอย่างต่อเนื่อง อาทิ จัดตั้งสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่ (New Economy Academy)เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถประกอบธุรกิจและทำการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย ให้ความรู้ในเรื่องของการทำการค้าออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ Kongdeetourthai.com (ของดีทั่วไทย) และ thaitrade.com และยังร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรอิเล็คทรอนิกส์ชั้นนำ อาทิ Alibaba, Tmall, Amazon, และ eBay เพื่อสร้างการรวมกลุ่มและขยายช่องทางการค้า

สำหรับผู้ประกอบการไทยในตลาดต่างประเทศ ให้การสนับสนุนภาคบริการให้เติบโตมากขึ้น เพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนและการให้บริการของอาเซียน และเพิ่มการสร้างรายได้จากภาคบริการให้มากขึ้น ตลอดจนกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน จึงมีการสนับสนุนการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจบริการ นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการขับเคลื่อน Creative and Cultural Economyโดยการดึงศักยภาพของท้องถิ่น ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมาพัฒนา และต่อยอดเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการผ่านการสร้างเรื่องราวซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยที่พยายามสร้างสรรค์และยกระดับศักยภาพของตน

ความสำเร็จของผู้ประกอบการไทย มูลค่าการส่งออกจากปี 2559ถึงปัจจุบัน มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกของปี 2559 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.5 การส่งออกของปี 2560 มีมูลค่า 236,635 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.86 และมูลค่าการส่งออกใน 6 เดือนแรกในปี 2561 ( ม.ค. – มิ.ย) มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 125,812 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.95 ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ของทั้งปี 2561
รางวัล PM Award ถือเป็นรางวัลสูงสุดของรัฐบาลที่มอบให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของประเทศและเป็นการประกาศเกียรติคุณ ให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางถึงความสำเร็จและความทุ่มเทของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาตนเอง พัฒนาสินค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซึ่งการพิจารณาคัดเลือกบริษัทเข้ารับรางวัลในแต่ละปีจะมีขั้นตอนดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบเป็นระบบและโปร่งใส โดยมีคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจส่งออกที่ได้รับรางวัลนี้มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมอย่างแท้จริง โดยรางวัลทั้ง 7 ประเภทที่มีการมอบภายในงานในปีนี้ มีดังนี้
1. รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกยอดเยี่ยม (Best Exporter)
2. รางวัลสินค้านวัตกรรมที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม (Best Green Innovation)
3. รางวัลแบรนด์ไทยยอดเยี่ยม (Best Thai Brand)
4. รางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบยอดเยี่ยม (Best Design)
5. รางวัลสินค้าธุรกิจบริการยอดเยี่ยม (Best Service Enterprise Award)
6. รางวัลสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม (Best OTOP)
7. รางวัลสินค้าฮาลาลยอดเยี่ยม (Best Halal)
ซึ่งในปีนี้ มีผู้ประกอบธุรกิจได้รับรางวัลใน 7 ประเภท รวมทั้งสิ้น 35 รางวัล 32 บริษัท รางวัลนี้ ถือเป็นรางวัลแห่งความสำเร็จสูงสุดสำหรับผู้ประกอบธุรกิจส่งออกไทย
ทั้งสินค้าและบริการประเภทต่างๆซึ่งส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้ผู้ที่ได้รับรางวัลได้มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล รวมถึงทำให้ผู้นำเข้าและผู้ซื้อจากต่างประเทศเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้ส่งออกของไทยที่ได้รับรางวัลอีกด้วย ซึ่งจากผลการดำเนินโครงการ ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปี 2561 ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 27 มีผู้ประกอบธุรกิจส่งออกไทยที่ได้รับรางวัลแล้วกว่า 600 ราย
รางวัล PM Award ถือเป็นรางวัลสูงสุดของรัฐบาลที่มอบให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของประเทศและเป็นการประกาศเกียรติคุณ ให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางถึงความสำเร็จและความทุ่มเทของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาตนเอง พัฒนาสินค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซึ่งการพิจารณาคัดเลือกบริษัทเข้ารับรางวัลในแต่ละปีจะมีขั้นตอนดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบเป็นระบบและโปร่งใส โดยมีคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจส่งออกที่ได้รับรางวัลนี้มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมอย่างแท้จริง โดยรางวัลทั้ง 7 ประเภทที่มีการมอบภายในงานในปีนี้ มีดังนี้
1. รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกยอดเยี่ยม (Best Exporter)
2. รางวัลสินค้านวัตกรรมที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม (Best Green Innovation)
3. รางวัลแบรนด์ไทยยอดเยี่ยม (Best Thai Brand)
4. รางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบยอดเยี่ยม (Best Design)
5. รางวัลสินค้าธุรกิจบริการยอดเยี่ยม (Best Service Enterprise Award)
6. รางวัลสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม (Best OTOP)
7. รางวัลสินค้าฮาลาลยอดเยี่ยม (Best Halal)
ซึ่งในปีนี้ มีผู้ประกอบธุรกิจได้รับรางวัลใน 7 ประเภท รวมทั้งสิ้น 35 รางวัล 32 บริษัท รางวัลนี้ ถือเป็นรางวัลแห่งความสำเร็จสูงสุดสำหรับผู้ประกอบธุรกิจส่งออกไทย
ทั้งสินค้าและบริการประเภทต่างๆซึ่งส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้ผู้ที่ได้รับรางวัลได้มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล รวมถึงทำให้ผู้นำเข้าและผู้ซื้อจากต่างประเทศเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้ส่งออกของไทยที่ได้รับรางวัลอีกด้วย ซึ่งจากผลการดำเนินโครงการ ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปี 2561 ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 27 มีผู้ประกอบธุรกิจส่งออกไทยที่ได้รับรางวัลแล้วกว่า 600 ราย



นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงรางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น (Prime Minister’s Export Award หรือ PM Award) ว่า “รางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศและเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ มีความภาคภูมิใจ และมุ่งมั่นตั้งใจในการที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคม คนไทย รวมถึงบริษัทของตนเอง ซึ่งปัจจุบันจำเป็นต้องขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขณะเดียวกันขอให้ทุกคนได้นึกถึงประชาชนคนไทยทุกกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่ในการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะประชาชนภาคเกษตรที่เป็นต้นทางวัตถุดิบของกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตามแม้ปีนี้ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจการส่งออกของประเทศหรือ GDP จะสูงขึ้น แต่ยังมีปัญหาในเรื่องที่มีประชาชนส่วนหนึ่งออกมาระบุว่าเศรษฐกิจยังไม่ดี หรือการประกอบอาชีพยังมีรายได้น้อย นั้น สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นมาโดยตลอด รัฐบาลปัจจุบันจึงมีความมุ่งมั่นที่จะเชื่อมห่วงโซ่ต่าง ๆ ทั้งระบบตั้งแต่ต้นทาง (ประชาชน/เกษตรกร) กลางทาง (ผู้ประกอบการ) และปลายทาง (การตลาด) เข้าด้วยกัน โดยสิ่งสำคัญขณะนี้คือส่วนของปลายทาง (การตลาด) จะต้องเป็นตัวกำหนดต้นทางเสมอ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาดอย่างแท้จริงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อทำให้ทุกฝ่ายที่อยู่ในกระบวนการห่วงโซ่ดังกล่าวมีรายได้ที่เหมาะสมและเป็นธรรม สามารถจำหน่ายได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลดูแลประชาชนทุกลุ่มทั้งผู้ประกอบการ ภาคการเกษตรกร และการตลาด สิ่งสำคัญคือรัฐบาลมีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก การออกกฎ ระเบียบ กติกาต่าง ๆ ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน/ประชาสังคมในรูปแบบกลไก “ประชารัฐ”
จึงขอฝากให้ภาคธุรกิจเอกชนซึ่งเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของกลไกประชารัฐ ได้ช่วยกันดูแลคนไทยได้มีอาชีพและรายได้ที่สูงขึ้น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเดินหน้าไปสู่ Thailand 4.0 ในการที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขณะเดียวกันต้องมีการเตรียมมาตรการเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ตามแนวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งประชาชนทุกคนต้องมีการพัฒนาและปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้การพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่กำหนดคือการเดินหน้าไปสู่ Thailand 4.0″
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวย้ำว่า “ประเทศไทยจะสามารถยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้มีความก้าวหน้าและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพได้นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือและความมุ่งมั่นของทุกภาคส่วนประกอบกันตามกลไก “ประชารัฐ” ในการเปลี่ยนผ่านรูปแบบเศรษฐกิจ จากเดิมให้กลายเป็นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน/ประชาสังคม โดยทั้ง 3 ภาคส่วนนี้จะสนับสนุนเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันในการจัดทำนโยบาย กฎระเบียบต่างๆ ให้มีความเป็นสากล และสร้างแรงจูงใจ โดยการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจแบบบูรณาการ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมผ่าน 4 ปัจจัยหลักของประเทศ คือ 1) ภาคการเกษตรมีการใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการในการเพิ่มมูลค่าสินค้า 2) ผู้ประกอบการ SMEs ใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความสำเร็จ 3) แรงงานมีการพัฒนาทักษะให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีทักษะสูง 4) การเพิ่มมูลค่าธุรกิจบริการต่างๆ จากธุรกิจดั้งเดิมให้เป็นธุรกิจ ที่มีมูลค่าเพิ่ม เป็นธุรกิจบริการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อก้าวไปสู่ความก้าวหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ของแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี”