
จุดหมายแรก วัดภูม่านฟ้า อำเภอนางรอง เที่ยงพักรับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านจิ้งนำ ขาหมูนางรอง ออกเดินทางไปชม ปราสาทหินเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย ออกเดินทางต่อไปที่ ปราสาทหินเมืองต่ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย ซึ่งอยู่ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งไป ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร
จุดหมายแรก วัดภูม่านฟ้า อำเภอนางรอง
พลังแห่งการศรัทธาในพุทธศาสนาบนผืนแผ่นดินไทย วัดภูม่านฟ้า อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วัดพระพุทธบาทศิลา หรือวัดภูม่านฟ้า สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เริ่มก่อสร้างเป็นที่พักสงฆ์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ที่บ้านหนองบัวราย หมู่ที่ 7
โดยการนำของพระอาจารย์ สมศักดิ์ สํวรจิตฺโต หรือหลวงพ่อแดง ประธานหัวหน้าที่พักสงฆ์ในขณะนั้น
ในพื้นที่ของนาย ประมูล รัตนจันทร์ ผู้ที่มีจิตศรัทธาได้ถวายที่ดินเพื่อให้จัดสร้างวัดบนเนื้อที่ 15ไร่ และได้มีคณะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี และอุบาสก-อุบาสิกา ร่วมกันก่อสร้างเสนาสนะทั้งหลายขึ้น เพื่อใช้ในกิจของสงฆ์และได้มีการใช้พื้นที่ภายในวัดจัดกิจกรรม อบรม ให้กับ ร.ร. อบต. และหน่วยงานราชการต่างๆที่มาขอจัดงานโดยตลอด และได้รับตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2564
ปราสาทหินเมืองต่ำ ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งไป ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือชุมชน ปราสาทหินเมืองต่ำ อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ เที่ยวพนมรุ้งแล้ว อย่าลืมมาเที่ยวชมปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทหินเมืองต่ำ ปราสาทโบราณ ตำบลจระเข้มากอำเภอประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์
ช่วงบ่ายไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปราสาท พนมรุ้ง ศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สัทธิไศวะนิกาย (นับถือพระศิวะเป็นใหญ่) สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นที่สถิตย์ขององค์ พระศิวะมหาเทพแห่งไศวะนิกาย สร้างขึ้นโดย องค์นเรนทราทิตย์ เป็นพระราชนัดดาหลาน)ของ พระเจ้าสุริยะวรมันที่2 องค์ผู้สร้าง ปราสาทนครวัด องค์นเรนทราทิตย์ แผ่ขยายพระราชอำนาจมา ทางทืศ ตะวันออกเฉียงเหนือ ของเมืองพระนคร ทรงได้รับพรพราชทานแต่งตั้งให้เป็นผู้ครองผู้ครองเมืองภายใต้อำนาจของราชวงศ์ "มหิธรปุระ"
วันพุธที่ 5 มีนาคม 2568 ชมบรรยากาศปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกสาดส่องผ่าน 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง มีจำนวนนักท่องเที่ยวมารอชมปรากฏการณ์ในครั้งนี้จำนวนมาก เนื่องด้วยสภาพอากาศฟ้าเปิดทำให้เห็นแสงอาทิตย์สาดส่องผ่าน 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้งอย่างชัดเจน ปรากฎการณ์พระอาทิตย์ตกสาดส่องตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง
ด้วยศรัทธา อันแรงกล้าต่อ ไศวะนิกาย และพระองค์ทรงปราบศัตรู จนพ่ายแพ้ยอมสยบในพระราชอำนาจ ประกอบกับทรงมีพระเมตาแก่ราษฎรของพระองค์ จนบ้านเมืองมีความสงบสุข พระองค์จึงทรงดำเนินการสร้างปราสาทพนมรุ้ง เพื่อเป็นเทวาลัยของพระศวะและประดิษฐาน ศิวะลึงค์เป็นองค์ประธาน และเทพองค์อื่นอยู่ในเทวสถานชั้นรองลงไป นอกจากนี้ องค์นเรนทราทิตย์สร้างปราสาทแห่งนี้เพื่อประดิษฐาน รูปของพระองค์เพื่อเตรียมพระองค์ไว้เข้าร่วมกับเทพองค์อื่นที่ทรงนับถือหลังจากสิ้นพระชนม์ นอกจาก องค์ปราสาท ปรางค์ประธาน ที่มีลวดลายแกะสลักจากหินหรายเป็นประติมากรรมบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระศิวะมหาเทพสูงสุดแห่งไศวะนิกาย สิ่งมหัศจรรย์ที่ปรากฎที่ปราสาทพนมรุ้งคือปรากฎการพระอาทิตย์ขึ้นและตกตรงประตูทั้ง 15 ช่อง ซึ่งจะปรากฎขึ้นปีละ 4 ครั้ง ในช่วงราวเดือน มีนาคม-เมษายน และเดือนกันยายน-ตุลาคม ของทุกปี ขึ้นอยู่กับปฏิทินทางสุริยะคติ เรียกวันที่ปรากฎการณ์แบบนี้ว่า"วันวิศุวัต"คือวันที่มีกลางวัน กลางคืน เท่ากัน ในทางดาราศาสตร์หมายถึงแนวตั้งฉากระหว่างดวงอาทิตย์กับเส้นศูนย์สูตรของโลก บริเวณผู้คนที่อาศัยอยู่ชุมชนพนมรุ้งทราบดีว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่ศรัทธาในลัทธิไศวะนิกายถือเป็นวันสำคัญที่ประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะบูชาเทพต่างๆของไศวะนิกายเพื่อให้ทรงคุ้มครองความปลอดภัย และให้อยู่เย็นเป็นสุขเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ และได้ชื่นชมความอัศจรรย์ ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู ปราสาทหินพนมรุ้ง (พระอาทิตย์ตก เวลาประมาณ 18.05 น.)
เที่ยวบุรีรัมย์ง่ายนิดเดียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ โทร. 0 4463 4722 หรือโทร. 1672 Contact Center
จากนั้นเดินทางไปอำเภอนางรอง รับประทานอาหารเย็น ณ ร้านข้าวต้ม 24 โดยมี นายศิวฤทธิ์ ศรีบุญเรือง ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ ให้การต้อนรับ และเข้าสู่ที่พัก Socool Grand Hotel อำเภอ นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 6 มีนาคม คณะออกเดินทางจาก โรงแรม Socool Grang Hotel มุ่งหน้าสู่จุดหมายแรกการเดินทางไปชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ วนอุทยานภูเขาไฟกระโดงและชมชมปากปล่องภูเขาไฟที่เขากระโดง บุรีรัมย์
“เขากระโดง” เป็น 1 ใน 6 ภูเขาไฟที่ตั้งในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภูเขาไฟที่ดับมอดแล้วมาเป็นเวลานับแสนปี คงเหลือไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความสวยงามของธรรมชาติและป่าไม้ มีพันธุ์ไม้หายากอย่างต้น
“โยนีปีศาจ” คนพื้นเมืองเรียนกันว่าต้นหีผี และอีกหลายๆ ชื่อ เช่น ต้นมะกอกเผือก ต้นมะกอกโคก โดยภาษาเขมรจะเรียกต้นนี้ว่า ต้นกะนุยขมอย เป็นที่ตั้งของปราสาทหินเขากระโดง ซึ่งสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย เดิมเป็นปรางค์หินทรายก่อบนฐานศิลาแลงองค์เดียวโดดๆ ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 4x4 เมตร มีช่องทางเข้า 4 ด้าน ต่อมาหินดังกล่าวได้พังลง จึงได้มีผู้นำหินมาเรียงขึ้นใหม่แต่ไม่ตรงตามรูปเดิม ต่อมาตระกูลสิงห์เสนีย์ ได้สร้างพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ในปราสาท และสร้างมณฑปครอบทับไว้บนปราสาท พร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ
วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาประวัติศาสตร์ ธรณีวิทยาและชีววิทยา เพราะเป็นที่ตั้ง ของภูเขาไฟ ที่ยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน และสามารถมองเห็นทัศนียภาพของตัวเมืองบุรีรัมย์ได้ ภูเขาไฟแห่งนี้ มีอายุประมาณ 3 แสน ถึง 9 แสนปี สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร
จุดไฮไลท์ของเขากระโดง คือปากปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว ที่นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมได้ โดยเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ และจังหวัดบุรีรัมย์ได้สร้างสะพานแขวน ให้นักท่องเที่ยวเดินชมปากปล่องภูเขาไฟได้อย่างใกล้ชิดสะพานแขวนลาวา อายุผ่านมาเท่ากับจำนวนก้าวคูณ 10,000 ปี ด้านหน้าของสะพานจะมีที่คล้องกุญแจอธิษฐาน ณ ตำนานรักบุรีรัมย์ และบริเวณนั้นยังมีปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดงที่ได้ดับสนิทไปแล้ว
ชมนกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่ศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์ แหล่งอาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่มาของข้าวหอมมะลิอินทรีย์มาตรฐาน GI ในชื่อ“ข้าวสารัช”
ศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์’แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นการถ่ายทอดความสำเร็จในด้านการอนุรักษ์ พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่มีความเชื่อมโยงกับวิถีชุมชนและองค์ความรู้ท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม
มื้อเที่ยงดีต่อสุขภาพที่หมู่บ้านสวายสอ บุรีรัมย์
ชุมชนบ้านสวายสอ วิถีชุมชน “คนและนกกระเรียนพันธุ์ไทย” มื้อเที่ยงดีต่อสุขภาพ รับประทานอาหารกลางวันที่หมู่บ้านสวายสอ บุรีรัมย์ ชุมชนบ้านสวายสอ วิถีชุมชนคนและนกกระเรียนพันธุ์ไทย ชุมชนท่องเที่ยวแนวกสิกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์เคียง คู่กับธรรมชาติบริเวณอ่างเก็บน้ำหวยจระเข้มาก คณะและทีมงาน ร่วมรับประทานอาหารที่วิสาหกิจชุมชนบ้านสวายสอ เพื่อเยี่ยมชมและรับประทานอาหารกลางวัน เซ็ตอาหารเพื่อสุขภาพ
โดยมี นายอรรถพล วรรณกิจ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ททท. และ นายศิวฤทธิ์ ศรีบุญเรือง ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ ให้การต้อนทางชุมชนให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และลิ้มลองอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะข้าวอินทรีย์ ผักปลอดสาร เกษตรอินทร ช้อปสินค้าท้องถิ่นขึ้นชื่อ อาทิ ข้าวหอมมะลิ หอมแดง ผลิตภัณฑ์จากผ้าลายนกกระเรียนพันธุ์ที่สวยงาม ที่วิสาหกิจชุมชนบ้านสวายสอหมู่บ้านสวายสอ ม.7 ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหมู่บ้านอินทรีย์ (Organic Village) ของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่ได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้าน “นวัตวิถี” ของจังหวัดบุรีรัมย์ บ้านสวายสอ มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ มีป่าไม้ ห้วย หนอง คลอง บึง มีสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่จำนวนมากและถิ่นนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทยหรือชาวบ้านเรียกว่า นกเขียน ซึ่งเป็นนกที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติเป็นนกที่รักเดียวใจเดียว มีรักนิรันดร์ ใครพบเจอจะมีแต่ความโชคดี มีชัย สมหวังในความรัก
ซึ่งนกกระเรียนได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา และกลับมาอยู่ได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อองค์กรสวนสัตว์ทำโครงการมาปล่อยเมื่อปี 2554 นี้ ซึ่งได้ปล่อยไปในธรรมชาติจำนวน 99 ตัว ปัจจุบันชาวบ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์และได้พบลูกนกกระเรียนน้อยซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ถือเป็นความสำเร็จของโลกในวงการสัตว์อนุรักษ์นอกจากนี้ในชุมชนยังมีผ้าก่วย หรือ ซิ่นก่วย เป็นผ้าที่เกิดจากการสืบค้นของชุมชน ที่หายไปมากกว่า 40 ปีเป็นสินค้าขึ้นชื่อ ของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นผ้าพื้นเมืองมีลวดลายสลับสีลายริ้วใหญ่จนได้ความเฉพาะตัวถือเป็นทุนวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนไว้รับแขกบ้านแขกเรือน
อีกทั้งยังมีข้าวอินทรีย์ ข้าวหอมมะลินกกระเรียน ที่ชุมชนสีกันเอง ขายกันเอง บริหารจัดการกันเองภายในชุมชน บ้านสวายสอ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ 16 กิโลเมตรมีเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีอำเภอเมืองบุรีรัมย์ทั้ง 6 หมู่บ้าน
ททท.บุรีรัมย์จัดงานเลี้ยงมื้อค่ำต้อนรับคณะ ช.ส.ท. นำโดย คุณวรางคณา สุเมธวัน ประธานชมรม ช.ส.ท. ,คุณพูลผล แพทอง ที่ปรึกษาชมรม โดยมีนักท่องเที่ยววัยเก๋า และสื่อมวลชนร่วมรับประทานอาหารค่ำ โดยมี คุณอรรถพล วรรณกิจ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ททท. คุณศิวฤทธิ์ ศรีบุญเรือง ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานบุรีรัมย์ ให้เกียรติร่วมงาน และ คุณสมฤดี จิตรจง ที่ปรึกษาเพลาเพลิน ให้การต้อนรับ
วันที่ 7 มีนาคมเช้าวันที่ 3 ของการเดินทาง เราก็เพลิดเพลินความสุข ณ เพลาเพลิน
ปักหมุดมากันเล ย Play La Ploen - เพ ลา เพลิน บุรีรัมย์เพลินกับการพักผ่อนกับที่นอนสบายๆ เพลินกับอาหารแสนอร่อย และเยี่ยมชม ท่องเที่ยวภายในเพลาเพลิน ตั้งแต่เช้าไปจนถึงเที่ยง
โดยมี คุณเอ -สมฤดี จิตรจง (กลาง), คุณปอนด์ -ประณัย สายชมภู (ขวา) และคุณพลอย- ยุวธิดา ผลจันทร์ (ซ้าย) ผู้บริหาร เพ ลา เพลิน ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมภายใน เพ ลา เพลิน ด้วยการนั่งรถชม อุทยานเรียนรู้เพลาเพลิน อย่างชิลๆกับอากาศเย็นๆ ตลอดเวลา
วันที่ 7 มีนาคมเช้าวันที่ 3 ของการเดินทาง เราก็เพลิดเพลินความสุข ณ เพลาเพลิน
ปักหมุดมากันเล ย Play La Ploen - เพ ลา เพลิน บุรีรัมย์เพลินกับการพักผ่อนกับที่นอนสบายๆ เพลินกับอาหารแสนอร่อย และเยี่ยมชม ท่องเที่ยวภายในเพลาเพลิน ตั้งแต่เช้าไปจนถึงเที่ยง
โดยมี คุณเอ -สมฤดี จิตรจง (กลาง), คุณปอนด์ -ประณัย สายชมภู (ขวา) และคุณพลอย- ยุวธิดา ผลจันทร์ (ซ้าย) ผู้บริหาร เพ ลา เพลิน ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมภายใน เพ ลา เพลิน ด้วยการนั่งรถชม อุทยานเรียนรู้เพลาเพลิน อย่างชิลๆกับอากาศเย็นๆ ตลอดเวลา
มาเช็คอินกันที่เพลาเพลิน จ.บุรีรัมย์ ชมอุทยานดอกไม้ เพลาเพลิน ทั้ง 6 โซน ต้องบอกว่า ทุกคนเพลิดเพลินกับการบันทึกความทรงจำ ความสุขกับดอกไม้ การตกแต่งที่สวยงามอลังการ เพ ลา เพลิน
สู่ Wellness Tourism เนรมิตอุทยานดอกไม้ สวนสุขภาพ พื้นที่เรียนรู้เยาวชน อุทยานเรียนรู้เพลาเพลิน อุทยานดอกไม้ ชมศูนย์สุขภาพ และกิจกรรมWorkshop และตามรอยจุดถ่ายรูป สุดคูลลลล ต้อนรับอากาศดีๆ สบายๆ ยาวกันเป็นเดือนเลยนะคะ
รักษากายาที่ ‘อโรคยา เวลเนส ศาลา’
“อโรคยา เวลเนส ศาลา” (Arokaya Wellness Sala) เป็นศูนย์การเรียนรู้และต่อยอดการพัฒนาพืชสมุนไพร จับมือกับวิสาหกิจชุมชนศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพ ลา เพลิน เพื่อชุมชน จ.บุรีรัมย์ ปลูกกัญชงระบบปิด เกรดทางการแพทย์ ส่งให้โรงพยาบาลคูเมือง และองค์การเภสัชกรรม และ กะเม็ง วัชพืชที่มีสารสำคัญช่วยเรื่องแผลกดทับ ส่งรพ.คูเมือง
สาโทจากนครชัยบุรินทร์
นอกจากสมุนไพรของที่นี่จะต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพแล้วยังนำไปเพิ่มมูลค่าเป็นอาหารและเครื่องดื่มจากวัตถุดิบท้องถิ่นได้อีกด้วย จากข้าวหักเหลือทิ้งในบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียงที่ไม่มีใครสนใจไยดี เพ ลา เพลิน ได้สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในการต่อยอดข้าวเหล่านี้เป็น AKAYA RICE WINE สุราแช่จากภูมิปัญญาพื้นบ้านของอีสาน ตามกรรมวิธีการทำสาโทพื้นบ้าน
พักที่นี่ ความพิเศษในการเป็นบูติค รีสอร์ทของ เพ ลา เพลินคือห้องพักทั้ง 73 ห้องมีเอกลักษณ์การตกแต่งด้วยการเพนต์ลายดอกไม้และสิงสาราสัตว์ที่ไม่เหมือนกันเลย และสำหรับห้อง suite จะมี ‘ตู้ไทยเวลเนส’ (Thai Wellness shelf) ได้แรงบันดาลใจจาก ส่วยยา หรือ ปัจจุบันเรียกกันว่าตู้ยาสามัญประจำบ้าน ที่มีประจำทุกครัวเรือน
เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 08.00-17.00 น.
Tel : 087 7981039 Add Line : @PlayLaPloen
มื้อเที่ยง อิ่มอร่อยกับอาหารกลางวันที่ เพลาเพลิน ต้องบอกว่าไม่ผิดหวัง เมนูก๋วยเตี๋ยวเรือสูตรลับเสิร์ฟร้อน รวมไปถึงเมนูชื่อดังเป็ดย่างคูเมือง ทำเอาหลายคนติดใจ
เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ แวะชม ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอุทยานประวัติศาสตร์หินพิมาย ซึ่งเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีอายุ ราว 1,000 ปี โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
1. พลับพลาเปลื้องเครื่อง ตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นสถานที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่างๆ
2. สะพานนาคราช บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้ สร้างด้วยหินทราย มีผนังเป็นรูปกากบาท ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานทำเป็นลำตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียร อันเป็นลักษณะนิยมในศิลปะเขมรแบบนครวัด สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล เชื่อว่า "เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินี้สืบกันต่อมาในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ
3. ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้วอยู่ในแนวตรงกันทั้งหมด 4 ด้าน คือ ทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ตรงกลางของกำแพง ส่วนทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจะค่อนไปทางทิศเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนเข้าสู่โลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า
4. ชาลาทางเดิน เมื่อผ่านซุ้มประตูด้านทิศใต้เข้ามา จะเป็นลานชั้นนอกของปราสาท จะเห็นแนวทางทอดไปยังประตูกลางของซุ้มประตูระเบียงคด แนวทางเดินนี้ก่อด้วยหินทราย ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่องทางเดิน จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก เป็นหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นว่าทางเดินมีลักษณะเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงกระเบื้องรองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว
5. บรรณาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกระหว่างซุ้มประตูกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นอาคารขนาดเดียวกัน 2 หลัง สร้างเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกสูงก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว จัดเป็นอาคารขนาดใหญ่ เชื่อว่าเป็น "บรรณาลัย" ซึ่งหมายถึงสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่างๆ ทางศาสนา
6. สระน้ำ ตั้งอยู่บริเวณทั้งสี่ทิศของลานกำแพงปราสาทชั้นนอก เดิมบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของวัดต่างๆ ซึ่งได้ย้ายไปตั้งใหม่นอกปราสาทแล้ว คือ วัดสระเพลง วัดพระปรางค์ใหญ่ วัดโบสถ์ และวัดพระปราค์น้อย ซึ่งสระหล่านี้น่าจะถูกขุดขึ้นเพื่อประโยชน์ของวัดในการใช้อุปโภคและบริโภค ถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย
7. ซุ้มประตูและระเบียงคด เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธานระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วคือ มีซุ้มประตูอยู่กึ่งกลางของกำแพงทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน ซึ่งปรากฏหลักฐานชิ้นสำคัญที่ซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศใต้ คือ รอยจารึกบริเวณกรอบประตูห้องกลางด้านทิศตะวันออกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร ระบุชื่อ "กมรเตงชคตวิมาย" และ กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพที่สำคัญชื่อ "กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย" ตรงกับ พ.ศ.1651 ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูงและพระนามพระมหากษัตริย์ คือ พระเจ้าธรณีนทวรมันที่ 1
8. ปราสาทประธาน ภายในลานชั้นในซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารศาสนสถานหลายองค์ด้วยกัน ที่ตั้งอยู่ตรงกลางลานก็คือ ปราสาทประธาน ถือเป็นจุดศูนย์กลางและสำคัญที่สุด สร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่นๆ ที่มักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2ส่วน คือ มณฑป และเรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าบันทับหลัง มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องราวรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ยกเว้นด้านทิศใต้จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า "ห้องครรภคฤหะ" เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ บริเวณพื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร
9. พลับพลา ภายในลานชั้นในทิศตะวันออกของปราสาทประธาน มีฐานอาคารก่อด้วยหินทราย รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม เว้นช่องว่างตรงกลางเป็นช่องสี่เหลี่ยม ด้านที่หันหน้าเข้าสู่ปราสาทประธานทำเป็นมุขยื่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสันนิษฐานว่า อาคารหลังนี้คงใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
10. หอพราหมณ์ เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับปราสาทหินแดง ค้นพบศิวลึงค์ขนาดย่อมทำด้วยหินทราย เชื่อว่าอาคารหลังนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์
11. ปรางค์หินแดง สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะ ตอน กรรณะล่าหมูป่า
12. ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทประธานทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประตูเป็นมุขยื่นสี่ทิศ ภายในองค์ปรางค์พบประติมากรรม 2 ชิ้น คือ ประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิสลักด้วยหินทราย สันนิษฐานว่า เป็นรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่7 ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต ส่วนอีกรูปหนึ่งเป็นรูปสตรีนั่งคุกเข่า สลักด้วยหินทราย ส่วนศรีษะและแขนหักหายไปเชื่อว่าเป็นรุปของพระนางชัยราชเทวีมเหสี ชาวบ้านเรียกตามนิยายพื้นบ้านว่า นางอรพิม ปัจจุบันประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ขอบคุณข้อมูลจากกรมศิลปากร
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา 30110
โทร. 044 471568
ปิดท้ายทริป ในช่วงบ่ายคณะช.ส.ท. เดินมาถึงอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อแวะชม อุทยานประวัติศาสตร์หินพิมาย เดินทางกลับถึงกรุงเทพมหานคร โดยสวัสดิภาพ
จัดโดย ชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่อง โดยได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ททท. สำนักงานบุรีรัมย์