27 กรกฎาคม 2567

งานรำลึกศาสตรเมธี นิทรรศการแห่งความกตัญญูกตเวทีเชิดชู “ชูเพชร”

ครูปัญญา เพ็ชรชู ครูผู้ให้แห่งเพาะช่าง  

งานรำลึกศาสตรเมธี  นิทรรศการแห่งความกตัญญูกตเวทีเชิดชู “ชูเพชร” คณะศิษย์เก่า ศิลปิน นักร้อง
นักดนตรี ร่วมกันแถลงข่าวการเตรียมการจัดงาน การแสดงความกตัญญูกตเวที ผ่านรูปแบบ Art Exhibition “ชูเพชร” ของครูปัญญา เพ็ชรชู ครูแห่งวิทยาลัยเพาะช่าง ผู้สร้างศิษย์ที่ทำประโยชน์แก่วงการศิลปินและสังคมไทย โดย คุณดินป่า จีวันและคุณณพา จีวัน จากจีวันแบนด์ นำชีวิตครูปัญญา แต่งเป็นบทเพลงชุดใหม่ พร้อมกับการพูดคุยถึงการ”ชูเพชร” พร้อมเจาะลึก กับ อาจารย์ สุดสาคร ชายเสม ศิษย์เอกครูปัญญา ศิลปินและครูด้านประติมากรรมไทย คณะกรรมการด้านศิลปกรรมโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ และที่ปรึกษาอาคารการเรียนรู้เรื่องโขน ผู้ออกแบบและสร้างฉากการแสดงโขน อาจารย์วัชระ ประยูรคำ ประติมากร คุณพีระวัฒน์ พิสุทธิ์พิบูลวงศ์ และคุณกมลรัตน์ เพ็ชรชู ร่วมบอกเล่าเรื่องราว ณ Little Tree Grocery  ม. มหิดล เมื่อวันก่อน




ซึ่งการแสดงความกตัญญูกตเวที ผ่าน Art Exhibition “ชูเพชร” ของครูปัญญา เพ็ชรชู  จะมีขึ้นที่ Panya’s Cafe “ร้านกาแฟของครูปัญญา” จิบกาแฟ แล งานศิลป์ Art & Café ระหว่าง วันเสาร์ที่ 5 - วันอาทิตย์ที่ 27 Oct. 2024 โดยจัดให้มีพิธีเปิดในวันที่ 5 ตุลาคม 2567 at Whispering Garden Café Sampran Nakhonprathom 



ชูเพชร ครูปัญญา เพ็ชรชู
Art Exhibition “ชูเพ็ชร” ประวัติและผลงานครูปัญญา เพ็ชรชู  ได้ใช้หลักการปวารณาอุทิศตัว ตามหลักของ ศีลธรรมและ คุณธรรม กำหนดลงไปในกิจกรรม (activities) เคลื่อนไหวอย่างพิถีพิถัน ทุกขั้นตอนในยามโลกเข้าสู่ยุค “กลียุค”นี้ จำเป็นต้องกระตุ้นเตือนจิตสำนึกของความเป็น ผู้ให้ ดั่ง “ครูปัญญา เพ็ชรชู” ผู้เป็นครูของพวกเรา และเป็นปูชนียบุคคลที่สังคมให้การยอมรับนับถือ กิจกรรม (activities) ครั้งนี้ จึงเป็นการเปิดกล่องเพชร ในความมืด แสงจากเหลี่ยมเพชร ที่ครูของพวกเราได้เฝ้าเจียระไน ตัวเองอย่างถึงที่สุดนี้ จะเป็นบรรทัดฐาน เป็นตัวอย่าง เป็นแบบอย่าง เป็นกำลังใจ แก่อนุชนรุ่นลูก หลาน เหลน ได้เดินตามเส้นทางอันประเสริฐนี้ พวกเขาจะเป็นครูของเด็กนักเรียนศิลปะ หรือ ครูของโลกใบนี้ ก็ไม่ไกลเกินไป และนี่คือเส้นทางของการพัฒนาจาก “คน” กลายเป็น “มนุษย์” ผู้มีใจสูงที่ได้สื่อแสดง จนประจักษ์ อย่างหมดจด งดงามแล้ว ทั้งหมดอยู่ในชีวิตของครูที่ชื่อ ปัญญา เพ็ชรชู    



กิจกรรม (activities) ในครั้งนี้จึงมิใช่การทำอีเว้นท์ จัดงานขายสินค้า ที่เราเห็นอยู่ดาษดื่นทั่วไป แต่กิจกรรมครั้งนี้มีอุดมการณ์ของความเป็นครู (พระคุณที่สาม) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นของมนุษย์ ถ้าสังคมขาดครู ต้นแบบที่ดีงาม โลกจะเกิดเภทภัยและปัญหา ร้ายแรง นานัปการ โกลาหล อลหม่าน อย่างแท้จริง นี่จึงเป็น Concept แนวคิดที่ประณีต ละเอียด รอบคอบ เสียสละ สร้างสรรค์ ประดิษฐ์สร้าง แตกช่อ ผลิดอก ผลผลิต พัฒนา ส่งต่อ จึงมิใช่การสร้าง Product สินค้าภาพเขียนมาแขวนเพื่อ Hard sale แต่กิจกรรมนี้เป็น Soft Power พลังแห่งความนุ่มนวล ลึกซึ้ง ดั่งสายลมกระซิบผ่านยอดไม้ (Whispering) จากอุดมการณ์ ทัศนคติ การดำเนินชีวิต ทุ่มอุทิศที่ใช้เวลายาวนานเคี่ยวกรำ บีบบังคับ กิเลส แห่งความเห็นแก่ตัว ให้ออกไป และเหลือความเมตตา กรุณา  พัฒนาตัว จนวาระสุดท้ายของชีวิต แต่ครูก็ได้กลั่นกรองตัวเองจนเป็น อมตะ เพชร เรียบร้อย บริบูรณ์ 

Exhibitionครั้งนี้จะไม่ทำตาม Fashion หรือในรูปแบบที่คุ้นตา ทั่วๆไป นิทรรศการแห่งความกตัญญูกตเวทีนี้ จะไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ราคา” จะไม่พบคำ “เท่าไหร่” ในงานแสดง แต่ประชาชน ตลอดจนสาธุชน จะได้พบกับความพิเศษสุดกับ Process กระบวนการผลิตเพชรแห่งชีวิต ของเด็กหนุ่มจากเมืองน้ำสมุทรสาคร ผู้เจียระไนตนเองจนกลายเป็นเพชรเม็ดงามแห่งเพาะช่าง และเป็นของขวัญให้แก่ชาวโลก 




ฉะนั้น กระบวนการ Process จึงเป็นขั้นเป็นตอน เป็นลำดับ จะไม่ใช่ การลองผิด ลองถูก แต่คือ ต้นแบบ แม่พิมพ์ แบบแผน ที่มี วิวัฒนาการมาแต่ไทย โบราณ สร้างชาติ แปลงเมือง แห่งความเป็นไทย ไม่เป็นทาส รุ่นสู่รุ่น เป็นวัฒนธรรมของศาสตร์และศิลป์ กลมกลึง กลมกลืน ด้วยความ เป็นศิลปะที่มี ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นแม่พิมพ์ ในการเพาะช่าง “ครูเพาะช่าง สร้างช่าง เพื่อสร้างชาติ”                 

ขอเรียนเชิญทุกท่านผู้สนใจ ร่วมงานเปิดนิทรรศการในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป  โดย นิทรรศการแสดงที่ Whispering Garden Land สามพราน นครปฐม Panya’s Cafe “ร้านกาแฟของครูปัญญา” จิบกาแฟ แล งานศิลป์ Art & Café “ศิลปะแห่ง ความดี ความงาม ความจริง”  จัดขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ 5- วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 บรรยากาศที่จะแสดงคือ เกิดขึ้นในโรงนาสวยงาม ท่ามกลางธรรมชาติขนาดใหญ่ และทุกสิ่งอย่างจะเกิดขึ้นในโรงนาขนาดใหญ่นี้ แปลงเป็นเสมือนหนึ่ง ร้านกาแฟ…
ที่ครูตั้งใจ เมื่อเกษียณจะไปทำ…




“ความงามแห่งศิลปะ คือ เรียนรู้ชีวิตว่าจริงๆ ศิลปะสอนมากกว่าที่มองเห็นความงาม
ศิลปะคือความงามแห่งการดำเนินชีวิต”

-ปัญญา เพ็ชรชู  ครูเพาะช่าง