GIT เปิดเวที! เชิญชวนนักออกแบบไทยและต่างชาติส่งผลงานประกวดออกแบบเครื่องประดับระดับโลก ปีที่ 18 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 7,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ สินค้าส่งออกในอันดับที่ 2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.59 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ขยายตัวตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 1,927.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 3,031.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,822.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 14.78 ซึ่งเห็นได้ว่าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเผชิญอยู่กับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้น
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ สินค้าส่งออกในอันดับที่ 2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.59 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ขยายตัวตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 1,927.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 3,031.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,822.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 14.78 ซึ่งเห็นได้ว่าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเผชิญอยู่กับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้น
สถาบันมีภารกิจในการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ เข้าสู่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนารูปแบบเครื่องประดับขึ้นในวงการอัญมณีและเครื่องประดับอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้นักออกแบบรุ่นใหม่และผู้สนใจในการออกแบบเครื่องประดับได้มีโอกาสนำเสนอผลงานตลอดจนให้มีการนำผลงานออกแบบไปผลิตชิ้นงานจริง และสร้างความตื่นตัวในเรื่องการออกแบบ สำหรับโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 ได้กำหนดหัวข้อการประกวดภายใต้หัวข้อ “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory” การออกแบบที่ต้องผสมผสานอัญมณีธรรมชาติ 3 สี ได้แก่ ทับทิม ไพลิน และบุษราคัม ผสมผสานองค์ประกอบของศิลปะ หลอมรวม ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ สู่การออกแบบเป็นคอลเลกชั่น High Jewelry ที่เต็มไปด้วยจินตนาการและนวัตกรรมเป็นเครื่องประดับที่มีความสวยงามและน่าหลงใหลอย่างแท้จริง
ซึ่งการประกวดครั้งนี้ เปิดโอกาสให้กลุ่มนักออกแบบมืออาชีพและรุ่นใหม่ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจทั่วโลกได้มีเวทีในการแสดงศักยภาพแห่งความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่ทิศทางด้านการออกแบบฉายภาพแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (Jewelry Design Trend) โดยนักออกแบบจะต้องส่งแบบวาดไม่จำกัดเทคนิค หรือภาพเขียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีแนวคิดการออกแบบสอดคล้องกับหัวข้อการประกวด จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ชิ้นใน 1 ชุด (คอลเลคชั่น) โดยในชุดนั้นจะต้องมีสร้อยคอเป็นเครื่องประดับหลักและเครื่องประดับอื่นๆ เช่น ต่างหู แหวน กำไล เป็นต้น
ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 เหรียญสหรัฐ โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 3,000 เหรียญสหรัฐ รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัลมูลค่า 2,000 เหรียญสหรัฐ รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 1,000 เหรียญสหรัฐ รางวัลชมเชย เงินรางวัล 500 เหรียญสหรัฐ และรางวัล GIT Popular Design เงินรางวัล 500 พร้อมโล่เกียรติยศ โดยสถาบันจะประกาศผลการตัดสินรอบแรกจากแบบวาดในวันที่ 11 มิถุนายน นี้ โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ และผู้ที่คร่ำหวอดในวงการเครื่องประดับจากทั่วโลก
และพิเศษสำหรับปีนี้ GIT ได้วางแผนในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้กับผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด โดยนักออกแบบสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Community Platform : GIT Jewelry Design Gallery ซึ่งเป็นช่องทางในการเชื่อมโยงระหว่างนักออกแบบและผู้ประกอบการในการพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องประดับให้ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับนักออกแบบ และ 4 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเป็นคะแนนสูงสุด จะได้ผลิตเป็นเครื่องประดับจริงเพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป
สำหรับผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด สามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2567 ผ่านทางเว็บไซต์ www.gitwjda.com หรือส่งผลงานพร้อมใบสมัครทางไปรษณีย์ หรือส่งผลงานด้วยตัวเองที่ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เลขที่ 140 อาคารไอทีเอฟ – ทาวเวอร์ ชั้น 3 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการ โทร. +66 2 634 4999 ต่อ 301-306 และ 311-313
หรือ LineOA: @gittrainingcenter และดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่ www.gitwjda.com