31 กรกฎาคม 2566

“SACIT Brand”ต่อยอด เชิดชู สร้างมูลค่าเพิ่ม 34 ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตกรรมไทยสู่สากล


SACIT จัดงาน " Crafts Bangkok 2023 " งานแสดงสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยและงานคราฟต์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความแข็งแกร่งให้งานศิลปหัตถกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากลพร้อมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางงานศิลปหัตถกรรมในระดับภูมิภาคอาเซียน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สอดรับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่มีรูปแบบที่ร่วมสมัย ตอบโจทย์ตลาดสากล  โดยได้รับเกียรติจาก นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมา




โดยภายในงาน สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดการแถลงข่าวและพิธีมอบรางวัลเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ “ตราศักดิ์สิทธิ์” (SACIT Brand) เพื่อเชิดชู สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยสู่การยอมรับในระดับสากล


นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ รักษาการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย 

นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ รักษาการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย หรือ SACIT เผยว่า สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)  มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนศิลปหัตถกรรมไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ รางวัลเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ “ตราศักดิ์สิทธิ์” หรือ SACIT Brand  ได้เกิดขึ้นเพื่อมอบให้กับผลงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีคุณภาพผ่านการประเมินคุณค่าตามหลักเกณฑ์ของ SACIT Brand  ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 5 หมวด ดังนี้

SACIT Globalize กลุ่ม ตราศักดิ์สิทธิ์ ที่โด่งดังไปทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความงามในรูปแบบประยุกต์ศิลป์มีประโยชน์ใช้สอยได้อย่างมีคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับในสากล 

SACIT Excellence กลุ่ม ตราศักดิ์สิทธิ์ ประณีตศิลป์ที่อนุรักษ์เชิดชู ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปะกระบวนช่างไทย มีความวิจิตรบรรจงงดงามอย่างยอดเยี่ยม

SACIT Masterpiece กลุ่ม ตราศักดิ์สิทธิ์ ทรงคุณค่างานศิลป์ ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความงาม ทรงคุณค่าในสุนทรียศิลป์ มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว มีกระบวนการผลิตเชิงช่างที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น

SACIT Trend ตราศักดิ์สิทธิ์ สมัยนิยม ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์โดดเด่นมีรูปแบบสมัยนิยมสร้าง Soft power ให้มีส่วนร่วมส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย

SACIT Dream กลุ่ม ตรา สานต่อศักดิ์สิทธิ์ ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่ เกิดจากผลงานของเยาวชน สถาบันการศึกษาที่สืบสาน สร้างความจงรักภักดีใน SACIT เกิดจากความร่วมมือระหว่างองค์กรที่สนับสนุนให้เกิด การต่อยอดเชิงพาณิชย์ ขยายผลสร้างชื่อเสียงให้กับ SACIT

ซึ่งผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีคุณภาพผ่านการประเมินคุณค่าตามหลักเกณฑ์ของ SACIT Brand จากเกณฑ์การคัดเลือกชิ้นงานโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ  และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 ท่าน ได้แก่

1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง คณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย

2. รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม 

3. นางสุพัตรา ศรีสุข  อดีตผู้อำนวยการศูนย์บริการงานออกแบบ กรมส่งเสริมการส่งออก 

4. นางนิศาบุษป์ วีรบุตร  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม การค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์

5. ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง  ศิลปินแห่งชาติ

6. ดร.สิริกร มณีรินทร์  อดีตรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน

7 .นางสาวภัทรา คุณวัฒน์ กรรมการผู้จัดการสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย 

8 .นางทองใบ เวชพันธ์  นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ (รษก.ผอ.กสร) รักษาการผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม

9. นายอุทัย เจียรศิริ  นายกสมาคมครูช่างศิลปหัตถกรรมไทย

10.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุจหทัย วงษ์กะพันธ์ หัวหน้าภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.นางสาวศศิวิมล มีจรูญสม   ผู้อำนวยการกองบริหารมาตรฐานผลิตภัณฑ์

และ ตัดสินโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ผู้มากความสามารถด้านการออกแบบ จำนวน  5 ท่าน ดังนี้

1. นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย 

2. ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ศิลปินสาขาจิตรกรรม ศาสตราจารย์สาขาทัศนศิลป์
ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

3. นางสุพัตรา ศรีสุข อดีตผู้อำนวยการศูนย์บริการงานออกแบบ กรมส่งเสริมการส่งออก

4. ดร. สิริกร มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน

5. มล. คฑาทอง ทองใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ

6. คุณณฐมน ตันเกยูร นักออกแบบ


โดยในปีนี้มีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับรางวัลเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ “ตราศักดิ์สิทธิ์” ทั้งหมด 34 ผลงานแต่ละชิ้นงานล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความงาม และอัตลักษณ์ของความเป็นไทยอย่างชัดเจน
และนำมาจัดแสดงภายในงาน Crafts Bangkok 2023 ระหว่างวันที่ 26 – 30 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ฮอล 98- 99