03 สิงหาคม 2565

เจาะลึก“ฮูเวอร์อุตสาหกรรม”ผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ปรับตัวแก้โจทย์ตลาดไทย-สร้างมาตรฐานแข่งขันตลาดโลก

ปรับตัวแก้โจทย์ตลาดไทย-สร้างมาตรฐานแข่งขันตลาดโลก

ฮูเวอร์อุตสาหกรรม (ประเทศไทย)แสดงศักยภาพโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชี้จุดเปลี่ยนตลาดเครื่องสำอางไทยเร่งปรับตัวแก้โจทย์โกยฐานลูกค้าSME พร้อมเร่งยกระดับนวัตกรรมสร้างสินค้าไอเดียเฉพาะ ภายใต้วัตถุดิบรักษ์โลก ต่อยอดสู่การแข่งขันท้าทายคู่แข่งในตลาดบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางโลก

นายเอนกเขมพาณิชย์กุลDesign Director บริษัท ฮูเวอร์อุตสาหกรรม (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวถึงภาพรวมของ‘Thai Hoover Industry’ว่าฮูเวอร์อุตสาหกรรมเป็นโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางกลุ่ม Color cosmeticsที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อตั้งมาประมาณ 40 ปี โดยรับเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาจากพาร์ทเนอร์จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้ฮูเวอร์อุตสาหกรรมสามารถผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางได้แบบครบวงจรตั้งแต่เริ่มรับวัตถุดิบ (Raw Materials)ทั้งในกลุ่มพลาสติก และวัตถุดิบที่เป็นจุดแข็งของบริษัทฯ อย่างอะลูมิเนียมก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิต จนออกเป็น FinishedGoods นำส่งให้ลูกค้าในไทยและต่างประเทศ รวมถึงลูกค้า Global Brand อาทิ Yves Saint Laurent, Dior, Givenchyฯลฯ





แต่เดิม ฮูเวอร์อุตสาหกรรม มีกลุ่มลูกค้าหลักอยู่ 2 กลุ่ม คือลูกค้าในประเทศและลูกค้าต่างประเทศ ในสัดส่วนเท่า ๆ กันที่ร้อยละ50:50 แต่ในช่วง 5 ปีหลังก่อนเกิดสถานการณ์โควิด คือช่วงที่ฐานลูกค้าในประเทศของฮูเวอร์อุตสาหกรรม เริ่มมีจำนวนลดลง แต่ก็ถูกชดเชยด้วยจำนวนลูกค้าต่างประเทศที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าจากประเทศฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่เข้ามาแทนที่ด้วยสัดส่วนราว 70-80%


นายเอนกเผยว่าผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์โควิด คือการที่ End-user ลดการใช้เครื่องสำอางจนลูกค้าต้องชะลอการผลิตแต่ผลกระทบหลักที่เกิดกับฮูเวอร์อุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วประเทศ เกิดมาจากปัญหาที่สะสมมานานของโครงสร้างธุรกิจเครื่องสำอางไทย


“เมื่อ 10 ปีก่อนตลาดเครื่องสำอางไทยแข่งขันกันด้วยผู้เล่นหลักไม่กี่เจ้าที่มีทั้งกำลังการผลิตและกำลังการซื้อ แต่ในระยะหลังที่ออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ตลาดเครื่องสำอางเกิดผู้เล่นใหม่อย่างกลุ่ม SMEที่มีแนวทางการทำธุรกิจต่างจากเจ้าใหญ่โดยเฉพาะเรื่องทุนทรัพย์ในการลงทุนซึ่งลูกค้าSME ไม่สามารถสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์ในจำนวนขั้นต่ำ (MOQ) ของโรงงานได้ ข้อจำกัดนี้คือผลกระทบเสียหายต่อทั้ง 2 ฝ่าย คือฝั่งSMEจะไม่ได้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ Custom ได้เองตามต้องการส่วนฝั่งโรงงานจะมีสัดส่วนลูกค้าในประเทศหายไป และอาจหมายถึงMargin จำนวนมากที่หายตามไปด้วย”


ความเปลี่ยนแปลงของตลาดเครื่องสำอางถือเป็นโจทย์ท้าทายที่ ฮูเวอร์อุตสาหกรรม ต้องปรับตัวในการเร่งดึงฐานกลุ่มSME เพิ่มสัดส่วนลูกค้าในประเทศไทย รวมถึงการเพิ่มศักยภาพบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อรักษาฐานลูกค้าเจ้าใหญ่พร้อมสร้างความเป็นนวัตกรรมเพื่อยกระดับการแข่งขันกับโรงงานบรรจุภัณฑ์ในระดับ Global


“เราพยายามสร้างการเข้าถึงลูกค้า SME ด้วยวิธีที่แตกต่างจากในอดีตเพราะหลัก ๆ แล้ว บรรจุภัณฑ์คือปัจจัยท้าย ๆ ที่กลุ่ม SME จะนึกถึงในตอนสร้างแบรนด์ จึงเป็นเรื่องยากมากที่เขาจะรู้จักกับโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์นั่นทำให้งาน Exhibition หรืองานแสดงสินค้าลักษณะB2B กลายเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการเข้าถึงคู่ค้าใหม่ ๆไม่ว่าจะเป็นSME หรือซัพพลายเออร์ และเรายังมองถึงข้อดีในการได้เจาะไปในกลุ่มโรงงานใส่เนื้อหรือ Filling Company ที่มีจำนวนเกิดใหม่ไม่น้อยกว่ากลุ่มSME เพื่อสร้างโอกาสการเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันในอนาคต”


อีกสิ่งที่ฮูเวอร์อุตสาหกรรม ได้เร่งปรับตัว คือการสร้างสินค้าใหม่ ๆ และสิ่งที่เป็นนวัตกรรมที่แตกต่างจากในตลาดด้วยการนำ Know-howจากองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาผนวกกับงานดีไซน์และวิศวกรรม เพื่อออกแบบสินค้า Unique ที่มีความเฉพาะตัว และมีความสามารถแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลกได้ ประกอบกับอีกจุดแข็งของฮูเวอร์อุตสาหกรรมในการโฟกัสถึงนโยบายผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ด้วยการนำECO Materials มาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง


“ไทยฮูเวอร์เป็นโรงงานที่ใช้พลาสติกค่อนข้างเยอะ”นายเอนกกล่าว “ด้วยความที่เทรนด์สิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด์ที่ทุกอุตสาหกรรมทำกัน วิธีที่ดีที่สุดในการรับผิดชอบพลาสติกของเราคือการไม่กำจัด ไม่ทำลาย แต่นำกลับมาใช้ใหม่ด้วยวิธีการรีไซเคิล โดยนำ Post-consumer Recycled หรือพลาสติกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่ End-user ใช้แล้วทิ้ง มาผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกส่งกลับมายังโรงงานซึ่งในภาคนโยบายที่เราทำร่วมกับลูกค้ากลุ่มยุโรป จะมีระบุไว้ชัดเจนว่าทุกบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตและส่งขาย จะต้องมีวัตถุดิบ Post-consumer Recycledรวมอยู่กี่เปอร์เซ็นต์”


นอกจากการนำพลาสติกรีไซเคิลมาเป็นวัตถุดิบในบรรจุภัณฑ์แล้ว ฮูเวอร์อุตสาหกรรม ยังมองไปถึงการใช้วัสดุที่มีผลดีต่อโลกไปอีกระดับ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบลักษณะของ ECO Base อาทิ พลาสติกที่ไม่ได้มาจากปิโตรเลียม แต่มาจากพืช แกลบ หรือข้าวโพดรวมถึงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ(Biodegradable Plastic)สร้างบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นIndustrial Compostคือจะไม่ย่อยสลายในขณะที่ใช้งาน แต่จะเริ่มย่อยสลายในพื้นที่ที่มีองค์ประกอบทางจุลินทรีย์ อุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสม

พบกับบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางของ ฮูเวอร์อุตสาหกรรม (ประเทศไทย) ได้ที่งานCosmoprof CBE ASEAN 2022ในระหว่างวันที่15-17 กันยายน 2565 นี้ ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานีและติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ www.thaihoover.com หรือ www.facebook.com/thaihoover