30 เมษายน 2563

เอสซีจี เซรามิกส์ แถลงผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2563

กำไรเทียบปีลด 4% 
เตรียมรับมือตลาดหลังโควิด ลุยออนไลน์ เน้นสุขอนามัย ระบบติดตั้ง DIY 

เอสซีจี เซรามิกส์ แถลงผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2563 เทียบปีก่อนกำไรลด 4% เร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายให้สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้า ชูจุดแข็งด้านเทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์  ส่งกระเบื้อง “ไฮจีนิค” ตอบโจทย์สุขอนามัย พร้อมแผ่นปูพื้นและระบบติดตั้งอย่างง่ายทำได้เอง

นายนำพล มลิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องภายใต้แบรนด์คอตโต้ (COTTO) โสสุโก้ (SOSUCO) และ คัมพานา (CAMPANA) เปิดเผยถึงงบการ เงินรวมก่อนสอบทาน ของ COTTO ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ว่าบริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 2,523 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณการขายลดลง
และรายได้จากการขายที่ดินลดลง

โดยบริษัท มีกำไรสำหรับงวด 125 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4 ทั้งนี้ หากไม่รวมกำไรจากการขายที่ดินใน
ปีก่อน กำไรจะเพิ่มขึ้นร้อยละ128 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการบริหารและการผลิตได้ดีขึ้น จากการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรและลงทุนขยายช่องทางการจัดจำหน่าย   ประกอบกับต้นทุนพลังงานที่ลดลงจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ลดลง

“รายได้จากการขายในไตรมาสนี้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เกิดจากยอดขายในประเทศที่ลดลงตามความต้องการของตลาดในประเทศโดยรวม ในช่วงต้นไตรมาส ปัจจัยลบต่าง ๆ มาจากภาคอสังหาริมทรัพย์ และสิ่งก่อสร้างหดตัวลงตามกำลังซื้อซึ่งเป็นผลของมาตรการ LTV และความเข้มงวดในการปล่อย สินเชื่อของสถาบันการเงิน ตลอดจนสถานการณ์ภัยแล้ง ฝุ่น ควัน ส่วนในช่วงท้ายไตรมาส เกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและปัญหาโควิด-19 อย่างไรก็ตาม  ยอดขายสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม CLM โดยรวมสามารถรักษาระดับปริมาณขายได้ใกล้เคียงกับปีก่อน” นายนำพล กล่าว

นายนำพล เปิดเผยว่า ในช่วงภาวะวิกฤติโควิด-19 ซึ่งทางภาครัฐได้มีการประกาศใช้นโยบายต่าง ๆ
เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดในประเทศ มีผลกระทบกับ ผู้บริโภคและบริษัทฯ ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารออนไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะการขายสินค้าผ่าน ช่องทางออนไลน์ เวปไซต์ www.cottolife.com เฟซบุ๊กเพจสินค้า ทั้งแบรนด์คอตโต้ คัมพานา และโสสุโก้ รวมถึง คลังเซรามิค ตลอดจนปรับตัวและ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้า โดยบริหารจัดการพนักงานที่ขายหน้าร้านมาเสริมทีมขายออนไลน์ เพื่อให้ทันกับความ ต้องการของลูกค้าด้วย

“ช่องทางขายออนไลน์ได้กลายเป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าให้กับคอตโต้ไลฟ์ โดยเฉพาะช่วงที่มีการล็อคดาวน์ ยอดขายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มาจาก การขายสินค้าออนไลน์โดยตรง และจาก Omni-Channel คือ เริ่ม จากออนไลน์นำไปสู่การติดต่อพูดคุย ขายสินค้ากับลูกค้าทางโทรศัพท์ 
นอกจากนี้ การ Live ขายสินค้าทางเฟซบุ๊กเพจ ของ คลังเซรามิค ก็ได้รับการตอบรับที่ดีมากลูกค้ามีการ
สั่งซื้อเข้ามาทุกครั้ง ถือได้ว่ายอดขายจากทุกช่องทาง  ออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็น New High เห็นได้ชัดว่ากลุ่มลูกค้าของเราที่มีพฤติกรรมการใช้ดิจิทัล เทคโนโลยี มีเป็นจำนวนไม่น้อย” นายนำพล กล่าว

นอกจากนี้ บริษัท ฯ ยังได้เฝ้าติดตามพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและเร่งพัฒนาตอบสนอง
ให้สอดคล้องและรวดเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์เรื่อง “สุขอนามัย” ที่จะเป็นเรื่องสำคัญต่อไปในอนาคต หรือเทรนด์ “การใช้ ชีวิตติดบ้าน”  บริษัทฯ ได้พัฒนาสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ที่ต้องการปรับแต่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านแบบง่ายและสะดวก ได้ด้วยตนเอง



“คอตโต้ (COTTO) ได้ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระเบื้อง Hygienic Tile
(ไฮจีนิก ไทล์) มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น  JIS Z-2801 ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียเพื่อตอบรับเทรนด์ของผู้บริโภคที่มีความกังวลและต้องการความปลอดภัยทางด้านสุขภาพ อนามัย  ที่สำคัญ การที่ลูกค้าต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เราจึงได้พัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ในการปรับแต่งพื้นที่แบบง่ายและสะดวกได้ด้วยตนเอง คือ “COTTO Quick” ซึ่งเป็นระบบพื้นกระเบื้องที่ติดตั้งไวและง่าย  ซึ่งลูกค้าสามารถปูเองได้ โดยไม่ต้องใช้กาวซีเมนต์ 


ล่าสุด ยังได้ออกสินค้าใหม่ คือ แผ่นปูพื้น Smart Flexible by COTTO ที่มาพร้อมระบบคลิกล็อกจากประเทศสวีเดนซึ่งติดตั้งง่ายและสะดวก ลูกค้าสามารถ ติดตั้งด้วยตนเองได้โดยใช้เวลาเพียง 1-2 วันเท่านั้นสำหรับพื้นที่อยู่อาศัย” นายนำพล กล่าว

“ในส่วนของการบริหารต้นทุน บริษัทฯ ยังคงดำเนินการตามแผนงานเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิต ควบคู่ไปกับการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพ แม้ว่าในภาวะที่บริษัทจะต้องควบคุมต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่าย แต่บริษัท ฯ ยังคงมุ่งเน้นการรักษาคุณภาพสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานโดยมั่นใจว่าจะสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์หลังจากนี้และยังสามารถรักษาความแข็งแกร่งของการดำเนินธุรกิจในประเทศ ไว้ได้”  นายนำพล กล่าวสรุป

บริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO
 ก่อตั้งเมื่อเดือน สิงหาคม 2561 จากการควบ 5 บริษัทย่อยภายในเครือ SCG (The Siam Cement Group) ได้แก่ (1) บริษัทเซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด
(“TCC”) (2) บริษัทเดอะ สยาม เซรามิค กรุ๊ป อินดัสทรี่ส์ จำกัด (“SGI”) (3) บริษัทโสสุโก้ แอนด์ กรุ๊ป (2008) จำกัด (“SSG”) (4)  บริษัทไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ จำกัด (มหาชน) และ (5) บริษัทเจมาโก จำกัด (“GMG”) ส่งผลให้เอสซีจี เซรามิกส์ กลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมกระเบื้องปูพื้นและ
บุผนังของประเทศ โดยมีฐานการผลิต ทั้งหมด 4 แห่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี มีกำลังการผลิตกระเบื้องสูงสุดรวมกันถึงปีละ 94 ล้านตารางเมตร  ภายใต้ 3 แบรนด์หลัก คือ แบรนด์คอตโต้ (COTTO) โสสุโก้ (SOSUCO) และ คัมพานา (CAMPANA)