30 ธันวาคม 2561

พลิกโฉมครั้งสำคัญ ที่เหมือนได้เกิดใหม่อีกครั้ง!

“Let me in Thailand 4 Reborn”
จับมือ “รพ.บาโนบากิ” 
ช่วยแก้ไขปัญหาสาวคางบี้ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพสู่สาวฝาแฝดเป็น “แฝนหนีฝา” ที่สุขภาพดี สวยและมั่นใจ



“Let me in Thailand 4 Reborn”


สุดยอด! จากสาวฝาแฝด  ที่มีปัญาขากรรไกรบิดเบี้ยวบี้ทำให้ปวดและส่งผลต่อสุขภาพให้แย่
ในอนาคต กลายเป็น “แฝดหนีฝา” ที่ต้องมีใบหน้าไม่เหมือนกับพี่ชายฝาแฝดของตัวเอง
ได้เปลี่ยนชีวิตใหม่จากศัลยแพทย์มือดี คุณหมอโอชางฮยอน โรงพยาบาลศัลยกรรมบาโนบากิ

เพราะปัญหาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต !! รายการ  “Let me in Thailand 4 Reborn” และ
“โรงพยาบาลศัลยกรรมบาโนบากิ” จากประเทศเกาหลีใต้ จึงช่วยเนรตมิตให้สาวฝาแฝดที่มีปัญหาขากรรไกรบิดเบี้ยวบี้ จนทำให้เธอต้องปวดขากรรไกรอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในอนาคตอาจส่งผลเสียต่อ
สุขภาพอย่างมากให้เธอได้เปลี่ยนแปลงชีวิตเป็นสาวสุขภาพดี พร้อมพ่วงด้วยความสวยที่ใครๆ
ก็ต้องอิจฉาอย่างแน่นอน



บี๋ พิมพิกา หญิงสาวจากครอบครัวขายลอตเตอรี่ที่ลืมตาดูโลกมาพร้อม
กับพี่ชายฝาแฝดที่หน้าตาคล้ายกันอย่างกับแกะ แต่เธอมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับขากรรไกร ทำให้เธอปวดขากรรไกรอยู่ตลอดเวลาและในอนาคตอาจจะส่งผลเสียกับสุขภาพขอเธอมากยิ่งขึ้น ซึ่งรายการ

“Let me in Thailand 4 Reborn”
ร่วมกับ ศัลยแพทย์โอชางฮยอน จาก โรงพยาบาลศัลยกรรมบาโนบากิ ได้เห็นถึงปัญหาสำคัญข้อนี้จึงเลือกให้เธอได้ทำศัลยกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ดีขึ้น ซึ่งถ้าเธอทำศัลยกรรมเธอจะกลายไปมีใบหน้าที่ไม่ความคล้ายคลึงกับพี่ชายอีกต่อไป กลายเป็น “แฝดหนีฝา”

แต่สิ่งดีที่เกิดขึ้นกับเธอคือปัญหาสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งครั้งนี้เธอได้ทำศัลยกรรมเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น ผ่าตัดขากรรไกร, ปรับรูปหน้า โหนกแก้ม กราม คาง แก้ไขปัญหาคางยื่น ฟันไม่สบกัน, ศัลยกรรมจมูก
ให้ได้ทรงสวยรับกับใบหน้า, เย็บกล้ามเนื้อตาให้ดวงตาดูสดใสโตขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ, ฉีดฟิลเลอร์ใบหน้าเติมร่องลึกให้เต็ม และฉีดเสต็มเซลล์ให้ผิวสุขภาพดีขึ้น ซึ่งหลังจากทำศัลยกรรมแล้วเธอจะกลายเป็นสาวสุขภาพดี ที่เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเธอเอง มั่นใจในการหางานที่เหมาะสม และจะเปิดโอกาสในอาชีพ ช่วยยกระดับชีวิตของเธอและครอบครัวได้อย่างแน่นอนไม่ว่าจะปัญหาด้านสุขภาพ คางยื่น คางยาว จมูกไม่มีดั้ง หรือปัญหาใดๆ ก็ตาม..คุณสามารถสวย หล่อ เพอร์เฟ็คได้อย่างปลอดภัย กับทีมศัลยแพทย์มืออาชีพจากโรงพยาบาลบาโนบากิ ได้อย่าง “บี๋ พิมพิกา” เช่นนี้ได้ง่ายๆ

บี๋ พิมพิกา หญิงสาวจากครอบครัวขายลอตเตอรี่ที่ลืมตาดูโลกมาพร้อม
กับพี่ชายฝาแฝดที่หน้าตาคล้ายกัน

ผู้สนับสนุนการทำศัลยกรรม  ให้กับรายการ  “Let me in Thailand 4 Reborn” ซึ่งงานนี้รับประกันว่าจะเป็นสาวสวยสุขภาพดี มั่นใจ พร้อมก้าวสู่โลกกว้าง เพื่อหางานทำที่เหมาะสมกับตัวเธอและช่วยยกระดับชีวิตครอบครัวของเธอ

ได้อย่างแน่นอน




ติดต่อจองคิวปรึกษาฟรีในประเทศไทย
บาโนบากิ ทองหล่อซอย 3
Tel : 02-392-2890
Mobile : 099-112-4777

Line Official ID : คลิก http://line.me/ti/p/@thaibanobagi

#LetMeInThailand4#LetMeInReborn
#banobagi #โรงพยาบาลบาโนบากิ
#หมอโอเจ้าเดิม

28 ธันวาคม 2561

พม. จัดประชุมภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนงานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564)


วันนี้ (28 ธ.ค.61) เวลา 09.00 น. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ครั้งที่ 3/2561 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ

พลเอก อนันตพร กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ครั้งที่ 3/2561 เป็นการติดตามผลการดำเนินงานการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร และผลการดำเนินโครงการสำคัญในแผนขับเคลื่อนการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2561 ได้แก่ 1) การพัฒนาความร่วมมือกับ เทศบาลนครและเมืองพัทยา และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และ 2) การดำเนินงานตามมาตรการประกาศเกียรติคุณให้แก่สถานประกอบการ ซึ่งสืบเนื่องจากมติที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ครั้งที่ 2/2561



พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ 2 วาระที่สำคัญ ได้แก่
1) การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร จากผลการดำเนินการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่งและผู้ทำการขอทานในเขตกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 พบคนไร้ที่พึ่ง จำนวน 717 ราย โดยเป็นผู้มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีภารกิจในการจัดบริการสาธารณะใน เขตกรุงเทพมหานคร จึงควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินงานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติได้อย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มเป้าหมาย 

2) แนวทางส่งเสริมการดำเนินงานศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งระดับชุมชน : กรณีศึกษา ข่วงเปาโมเดล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีการดำเนินงานในลักษณะศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งระดับชุมชน เพื่อการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพแก่คนไร้ที่พึ่งภายในชุมชน โดยมีผลงานโดดเด่นและเป็นที่ประจักษ์จนได้รับรางวัลตำบลต้นแบบห่วงใยไม่ทอดทิ้งกัน ระดับดีเด่น ในปีงบประมาณ 2561 จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวง พม.

กระทรวง พม. พร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 
พ.ศ. 2561 – 2564 ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐเอกชน และประชาสังคมตามแนวทางประชารัฐของรัฐบาล
ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพของระบบคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และการป้องกันกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นคนไร้ที่พึ่งให้ได้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่อไป” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย

พม. รณรงค์ “วันศุกร์ แต่งผ้าไทย ใช้ปิ่นโต โชว์ถุงผ้า” ร่วมรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมน่าอยู่

“วันศุกร์ แต่งผ้าไทย ใช้ปิ่นโต  โชว์ถุงผ้า”

วันนี้ (28 ธ.ค. 61) เวลา 08.20 น. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมด้วย นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บุคลากรของกระทรวง พม.  ร่วมกิจกรรมรณรงค์ “วันศุกร์ แต่งผ้าไทย ใช้ปิ่นโต  โชว์ถุงผ้า” พร้อมทั้งร่วมแสดงปณิธาน “พม. ทำดีด้วยหัวใจ รวมใจลดใช้ถุงพลาสติก” ณ บริเวณโถงล่างชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ



พลเอก อนันตพร กล่าวว่า ตามนโยบายการส่งเสริมค่านิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงาม ตามค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ตระหนักถึง การส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยและการสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านไทยให้คงอยู่คู่สังคมไทย จึงได้ รณรงค์ส่งเสริมให้บุคลากรกระทรวง พม. แต่งกายด้วยผ้าไทยภายใต้โครงการรณรงค์ “วันศุกร์ แต่งผ้าไทย ใช้ปิ่นโต โชว์ถุงผ้า” ซึ่งการณรงค์ดังกล่าว ยังเป็นการช่วยปลุกจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ในระยะยาว                 






เนื่องจากขยะพลาสติกและโฟมย่อยสลายยากและใช้ระยะเวลานาน  จึงได้รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่บุคลากรของกระทรวง พม.  
ร่วมกันลดการใช้พลาสติกและโฟม ด้วยการนำปิ่นโตและแก้วน้ำส่วนตัวนำใช้บรรจุอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งการนำถุงผ้ามาใช้ในชีวิตประจำวันแทนถุงพลาสติก ถือเป็นการลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทาง


ทั้งนี้ ขออวยพรเนื่องในโอกาสเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2562 ให้ทุกท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญตลอดไป และขอเชิญชวน
ทุกท่านแต่งกายด้วยผ้าไทย ใช้ปิ่นโตและถุงผ้า เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์สังคมที่น่าอยู่ต่อไป”
-พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย

27 ธันวาคม 2561

พม. เปิดศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม ฯ ครบวงจร นำร่องส่งความสุขให้คนพิการ



วันนี้ (27 ธ.ค. 61) เวลา 14.30 น. ที่บริเวณอาคารด้านหน้ากรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ภายในสถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานใน
พิธีเปิดศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เพื่อเป็นศูนย์กลางการรวบรวมการศึกษา วิจัย และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และเป็นของขวัญปีใหม่ 2562 ส่งความสุขให้กับคนพิการทั่วประเทศ

โดยมี นายปรเมธี  วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และคณะผู้บริหารกระทรวง พม. พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก องค์กรคนพิการจาก
ทุกประเภทความพิการ และสถาบันการศึกษา เข้าร่วมงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 300 คน



พลเอก อนันตพร กล่าวว่า รัฐบาล ได้ขับเคลื่อนนโยบายด้านสังคมที่มุ่ง “ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและสร้างโอกาส  เข้าถึงบริการของรัฐ” โดยมอบหมายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนงานด้านสังคมและวางรากฐานในการพัฒนาระยะยาว ตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ด้วยยุทธศาสตร์ชาติที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ
สร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย



รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต และการมีส่วนร่วมเป็นพลังในสังคมสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนพิการ ด้วยการเชื่อมโยงระบบข้อมูลสวัสดิการและพัฒนาระบบสวัสดิการถ้วนหน้า สนับสนุนการพัฒนาบนฐานข้อมูลความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมโดยพัฒนาระบบฐานข้อมูลมิติต่างๆ และพัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า ด้วย มติคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2561 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
สำหรับคนพิการขึ้น ซึ่งในวันนี้ (27 ธ.ค. 61) ได้กำหนดพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ดังกล่าว 


โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมและการแสดงสาธิตจำลองในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความพิการและคนพิการ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ รวมทั้งการทดสอบและประเมินการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความพิการ โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจัดพื้นที่สิ่งอำนวยความสะดวกและการทดลองใช้อุปกรณ์ นวัตกรรม เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ การประเมินสาธิตทดลองการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกตามความจำเป็น และการให้บริการแก่คนพิการทุกประเภทความพิการ ทั้งด้านการศึกษา การทำงาน และการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการให้สามารถอยู่ในสังคมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน โดยมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2562 
ส่งความสุขให้กับคนพิการทั่วประเทศ




“ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ได้ใช้พื้นที่ภายในบริเวณสถานสงเคราะห์ เด็กหญิงบ้านราชวิถี เพื่อจัดเป็นพื้นที่ต้นแบบของศูนย์เรียนรู้ฯ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 การจัดบริการสำหรับคนพิการ ได้แก่ ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร และบริการสายด่วนคนพิการ 1479

โซนที่ 2 ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ แบ่งออกเป็น 5 ห้อง คือ ห้องข้อมูล ห้องการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สภาพแวดล้อมสาธารณะ ห้องเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องนวัตกรรมต้นแบบ และห้องประเมินเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

โซนที่ 3 แบบบ้านจำลองสำหรับคนพิการ โซนที่ 4 การฝึกอาชีพและขายผลิตภัณฑ์คนพิการ ได้แก่
ร้าน DIS-ABILITY ร้านกาแฟ For All Coffee ร้าน 60 plus และร้าน Chocolate Cafe และ โซนที่ 5 อาคารฝึกอบรมคนพิการครบวงจรของศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชีย และแปซิฟิก หรือ APCD” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย











26 ธันวาคม 2561

หนาวนี้...ที่บนดอย ตามรอยภูมิวัฒนธรรม

ตอนที่ 5 “สัมผัสชีวิตมุมมองกะเหรี่ยงโปว์” จังหวัดอุทัยธานี



ลมหนาวมาเยือน หลายท่านคงเตรียมกระเป๋าไปสัมผัสลมหนาวที่ภาคเหนือ บทความ 4 ตอนที่ผ่านมา
เราได้นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และตาก แต่ถ้าใครไม่อยากเดินทางไกล หนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ ความงดงามเชิงอัตลักษ์ในพื้นที่ไม่แพ้ทางภาคเหนือ คือ จังหวัดอุทัยธานี




​​
‘แก่นมะกรูด’ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พื้นที่สูงติดป่าห้วยขาแข้งมรดกโลก และเป็นโครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ตำบลแก่นมะกรูดตามแนวพระราชดำริ ซึ่งหลายหน่วยงาน อาทิ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดย ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดอุทัยธานี  อบจ.อุทัยธานี อบต.บ้านไร่ มูลนิธิปิดทองหลังพระ และสำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี ได้บูรณาการร่วมกันในการส่งเสริมให้ราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบนพื้นที่สูง 4 หมู่บ้านที่ตั้งอยู่กลางหุบเขา ปรับเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหันมาปลูกพืชเมืองหนาว เช่น กะหล่ำปลี,  สตรอเบอร์รี่, ราสเบอร์รี่ และดอกไม้เมืองหนาวหลากหลายชนิด เช่น ดอกลิลลี่ ดอกทิวลิป ต้นคริสมาสต์ เป็นต้น
​​แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมีหลายจุด ได้แก่





จุดที่ 1 บริเวณศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดอุทัยธานี ดินแดนชุมชนกะเหรี่ยงโปร์โบราณบ้านอีมาดอีทราย ชมวิถีชีวิตชุมชน ศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร เป็นจุดที่มีการปลูกพืชและดอกไม้เมืองหนาวหลากหลายสายพันธุ์ให้ได้เข้าไปเก็บบรรยากาศ ชื่นชมความงาม และไปสนับสนุนผลิตภัณฑ์การเกษตรของกะเหรี่ยงโปว์ ซึ่งเป็นพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษที่ราคาถูกมากๆ นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น แหล่งรวบรวมวัตถุศิลป์ของชนเผ่าให้นักท่องเที่ยวที่สนใจไปศึกษาเรียนรู้ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปแก่นมะกรูดแล้วยังไม่มีที่พัก สามารถติดต่อ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดอุทัยธานี เขตพัฒนาพื้นที่สูงแม่ดีน้อย “ที่พักฟรี” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 0 5651 1523





จุดที่ 2 สวนพฤกษชาติ สถานที่จำลองเสมือนอยู่ท่ามกลางสวนดอกไม้และสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 7 ผู้ยิ่งใหญ่ พร้อมกับรูปปั้น สืบ นาคะเสถียร วีรบุรุษของสัตว์ป่าและธรรมชาติของประเทศไทย ให้ได้เก็บเป็นภาพประทับใจกลับบ้าน 






จุดที่ 3 ตลาดกะเหรี่ยง ตลาดที่ชาวกะเหรี่ยงและชาวไทยภูเขารวบรวมผลิตภัณฑ์สินค้า พืช ผัก ผลไม้ทอ้งถิ่นนานาชนิด มาวางให้นักท่องเที่ยวได้ ช๊อป ชม และชิมสตรอเบอรี่ มัลเบอรรี่ใหม่สด รสชาติหวานกรอบจากไร่ รวมไปถึงอาหาร ขนม พืชผักพื้นบ้านต่างๆ ที่หากินได้ยาก เช่น “มีสิเกียว” ขนมมงคลประจำชนเผ่ากะเหรี่ยง หรือเรียกว่า ‘ขนมแต่งงาน’ จะทำขึ้นมาเฉพาะในงานแต่งเท่านั้น ส่วนผสมประกอบด้วย ข้าวเหนียว เกลือ งาดำ ข้าวขาว และน้ำผึ้งเดือนห้า ซึ่งใช้เป็นน้ำจิ้ม ฝ่ายชายจะต้องเป็นผู้ตำ และผู้ที่จะทำขนม “มีสิเกียว” ได้จะต้องมีครอบครัวที่สมบูรณ์ ทั้งสามี – ภรรยา และ พ่อ – แม่ เท่านั้น ส่วนคนที่เป็นหม้ายหรือหย่าร้างไม่สามารถทำขนมชนิดนี้ได้ ชาวกะเหรี่ยงจึงถือว่าเป็นขนม “มีสิเกียว” เป็นขนมมงคลที่นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ครอบครัวของคู่บ่าวสาว  หากในงานแต่งใดไม่มีขนมชนิดนี้ถือว่างานแต่งนั้นจะไม่สามารถดำเนินพิธีการได้ ชาวกะเหรี่ยงได้ทำขนมมีสิเกียวขึ้นเพื่อไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ได้ทานเพื่อความเป็นมงคล สำหรับการเริ่มต้นสิ่งดีๆ นอกเหนือจาก 3 จุดที่สำคัญ จังหวัดอุทัยธานียังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมายให้ท่านมาลองสัมผัส







กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ขอเชิญชวนผู้ที่มีใจรักการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ตามวิถีธรรมชาติ ลองมาสัมผัสความงดงาม วิถีสโลว์ไลฟ์ของพี่น้องชนเผ่าต่างๆ การท่องเที่ยวที่ไม่ใช่เป็นแค่การท่องเที่ยว แต่เป็นการสร้างรายได้และสวัสดิการให้แก่ชุมชน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และจุดประกายการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงให้ยั่งยืนต่อไป

กรมควบคุมโรค ชวนชุมชนร่วมค้นหาจุดเสี่ยงบนท้องถนนป้องภัยช่วงปีใหม่



กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนคนในชุมชนร่วมค้นหาจุดเสี่ยงหรือจุดอันตรายบนท้องถนนในพื้นที่หรือหมู่บ้าน เพื่อเตือนประชนชนและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 นี้  พร้อมแนะนำ 3 แนวทางในการปรับปรุงจุดเสี่ยง ทั้งการกำจัดปัญหาให้หมดไป การทำปัญหาให้เห็นเด่นชัด และการกำหนดมาตรการ



วันนี้ (26 ธันวาคม 2561) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงจุดเสี่ยงหรือจุดอันตรายต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน คือตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง มีการบาดเจ็บ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูง โดยอาศัยสถิติการเกิดอุบัติเหตุเป็นดัชนีในการกำหนด ส่วนใหญ่เกิดในทางโค้ง ทางแยก จุดกลับรถ บริเวณสภาพถนนที่มีความบกพร่อง โดยใช้ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนคนเจ็บ คนเสียชีวิต บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุในจุดนั้น


สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง เมื่อทราบปัญหาที่มาจากปัจจัยเรื่องถนนและสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนต่อไป คือ การนำเสนอข้อมูลจุดเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ ในการประชุมระดับต่างๆ ทั้งท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด เพื่อเสนอปัญหาจุดเสี่ยงเพื่อร่วมกันหารือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยมี 3 แนวทางในการปรับปรุงจุดเสี่ยง
 


ดังนี้ 1.การกำจัดปัญหาให้หมดไป เช่น การปิดจุดกลับรถ เคลื่อนย้ายวัตถุอันตรายออกจากพื้นที่ การสร้างจุดกลับรถที่ปลอดภัย ทำวงเวียน ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น  2.การทำปัญหาให้เห็นเด่นชัด ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นปัญหา เพื่อเตือนผู้ขับขี่ให้รู้ปัญหาล่วงหน้า เช่น ทาสีสะท้อนแสงที่วัตถุอันตรายให้เห็นชัดเจน การติดตั้งป้ายเตือน การติดตั้งสัญญาณไฟ การทำให้ทัศนวิสัยดีขึ้น เป็นต้น  3.การกำหนดมาตรการ เพื่อปรับพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การห้ามย้อนศร ห้ามกลับรถ เป็นต้น



นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 ที่จะมาถึงนี้ กรมควบคุมโรค ชวนชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้นำชุมชน ตำบล/หมู่บ้าน ช่วยกันค้นหาจุดเสี่ยงหรือจุดอันตรายเป็นท้องถนนในพื้นที่ และแก้ปัญหาของจุดเสี่ยงในเบื้องต้นในชุมชน โดยการทำให้จุดนั้นเห็นเด่นชัดขึ้น เพื่อเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้รู้ความเสี่ยงล่วงหน้า หรือบริเวณทางข้างหน้ามีความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การติดตั้งป้ายเตือน ปักธงแดง ทาสีสะท้อนแสงที่วัตถุ ทำสัญลักษณ์เตือนให้เห็นเด่นชัด โดยกรมควบคุมโรคได้จัดทำข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนการจัดการแก้ไขจุดเสี่ยงเบื้องต้นให้ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ได้  สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค 0 2590 3889 หรือที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422